สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน ซึ่งเหตุที่พบมากคือ บริเวณหูรูดปลายหลอดอาหาร ที่ทำหน้าที่เหมือนประตูป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับมา แต่หากหูรูดทำงานไม่ปกติ หรือคลายตัวจะทำให้ผู้นั้นมีปัญหากรดไหลย้อน และยังมีความผิดปกติของการบีบตัวของหลอดอาหาร ซึ่งจะทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้นานกว่าปกติ ส่งผลทำให้เกิดก๊าซขึ้นในระบบทางเดินอาหาร หรือมีความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้มีอาหารค้างนานเกินไป ส่งผลให้เกิดก๊าซในกระเพาะอาหารมากขึ้น
1.ปรับเปลี่ยนลักษณะการรับประทานอาหาร
ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ช้าๆ ไม่รีบเคี้ยวรีบกลืน หากอาหารมีลักษณะหยาบเกินไป จะทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้น
2.หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หวานจัด จะสร้างความระคายเคืองให้ระบบทางเดินอาหาร
3.ลดการรับประทานอาหารไขมันสูง
อาหารที่มีไขมัน จะทำให้อาหารอยู่ในกระเพาะนานยิ่งทำให้เกิดก๊าซมากขึ้น
4.ลดการดื่มสุรา
ไม่ควรดื่มน้ำอัดลม และสุรา เพราะจะมีฤทธิ์ระคายกระเพาะอาหาร
5.ไม่นอนหลังรับประทานอิ่ม
ช่วงกลางคืนควรรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่ายแทนอาหารมื้อหนัก ซึ่งจะลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารไม่เป็นเวลาและ ภายใน 2 ชั่วโมง ไม่ควรนอนหลังกินอาหารเสร็จใหม่ๆ เพราะอาหารอยู่ในช่วงกำลังย่อย ซึ่งจะทำให้เกิดก๊าซ ส่งผลให้ไหลย้อนกลับเกิดอาการของโรคกรดไหลย้อน
6.พักผ่อนอย่างเพียงพอ
การพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้ระบบการทำงานของกระเพาะไม่ปกติ ควรทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด เพราะความ เครียดเป็นสาเหตุให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น
7.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตทำงานได้มีประสิทธิภาพ ทำให้เส้นโลหิตยืดหยุ่นดี และไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดี บริเวณกระเพาะอาหารก็เช่นกัน
การดูแลตัวเองป้องกันไม่ให้เกิดโรคกรดไหลย้อน จะทำให้การใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ และลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งอีกด้วย