ในปัจจุบันผู้หญิงที่หมดประจำเดือนหรือเรียกว่าผู้หญิงเข้าวัยทอง มักประสบปัญหาอาการร้อนวูบวาบ หงุดหงิดง่ายรวมไปถึงภาวะช่องคลอดแห้ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากระดับของฮอร์โมนเพศหญิงลดต่ำลงโดยเฉพาะ เอสโตรเจน เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะร่างกายของผู้หญิงสามารถสร้างโฮโมนเอสโตรเจนได้น้อยลงจึงทำให้นำมาสู่อาการร้อนวูบวาบ หงุดหงิดง่าย และภาวะช่องคลอดแห้ง(1)
ที่มา:http://contemporarydoctors.com/menopause/
อาการดังกล่าวมักมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยเฉพาะ กิจกรรมในยามค่ำคืน ผลจากมาจากช่องคลอดแห้งและมีอาการฝ่อของช่องคลอดจึงทำให้มีอาการเจ็บ แสบและคันเข้ามากวนใจผู้หญิงอย่างเรา
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการรักษาอาการฝ่อและแห้งของช่องคลอดโดยครีมล่อลื่นหรือครีมฮอร์โมนเอสโตรเจนสำหรับทาบริเวณช่องคลอดแต่ได้มีการแพทย์ทางเลือกโดยใช้ royal jelly หรือ นมผึ้งเป็นสารสกัดที่ได้สารคัดหลั่งจากนางพญาผึ้งโดยมีการศึกษาถึงคุณประโยชน์ในด้านต่างๆโดยพบว่าสารสำคัญที่พบในนมผึ้งคือ 10-Hydroxy -2- Decenoid Acid (10-HDA)
มีการศึกษาในหลอดทดลองและในหนูพบว่าสาระสำคัญดังกล่าวมีฤทธิ์ ในด้านการต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อแบคทีเรีย(2, 3)และการทดลองในหนูยังพบว่า นมผึ้งมีฤทธิ์ที่คล้ายคลึงกับ estrogen แต่มีฤทธิ์อ่อนกว่าเอสโตรเจนที่พบในพืชหรือมนุษย์(2-5) ซึ่งทางผู้วิจัยเชื่อสามารถกระตุ้นให้ช่องคลอดในหนุษย์สามารถกลับมากระชับและชุ้มชื้นได้และนอกจากนี้ยังมีการทดลองโดยนำนมผึ้งมาใช้ในการว่าสามารถรักษา ภาวะแห้งและฝ่อของช่องคลอดในมนุษย์ที่หมดประจำเดือนซึ่งผลการทดสอบพบว่านมผึ้งมีประสิทธิภาพที่เหนือกว่าการใช้เจลล่อลื่นในการรักษาภาวะแห้งและฝ่อของช่องคลอด แต่ผลการทดลองยังไม่เป็นที่น่าเชื่อถือมากนัก(5)และการศึกษายังน้อย จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อจะดูผลที่แน่ชัดว่าสามารถนำมาใช้แล้วเกิดประโยชน์ได้
ที่มา:http://www.strangehistory.net/2012/04/25/honey-and-the-anvils-of-womens-thighs/
สรุปแล้วการใช้ royal jelly หรือ นมผึ้ง สามารถนำใช้ในการชะลอความสาวในผู้หญิงก็ยังคงไม่สามารถยืนยันได้แน่ได้ชัดว่าสามารถนำมาใช้แล้วสามารถชะลอวัยในผู้หญิงได้จริงหรือไม่
1.Manson JE, Bassuk SS. Menopause and Postmenopausal Hormone Therapy. In: Kasper D, Fauci A, Hauser S, Longo D, Jameson JL, Loscalzo J, editors. Harrison’s Principles of Internal Medicine, 19e. New York, NY: McGraw-Hill Education; 2015.
2.Suzuki K-M, Isohama Y, Maruyama H, Yamada Y, Narita Y, Ohta S, et al. Estrogenic Activities of Fatty Acids and a Sterol Isolated from Royal Jelly. Evidence-based Complementary and Alternative Medicine : eCAM. 2008;5(3):295-302.
3.Melliou E, Chinou I. Chemistry and Bioactivities of Royal Jelly. Studies in Natural Products Chemistry. 2014;43:261-90.
4.Mishima S, Suzuki K-M, Isohama Y, Kuratsu N, Araki Y, Inoue M, et al. Royal jelly has estrogenic effects in vitro and in vivo. Journal of Ethnopharmacology. 2005;101(1):215-20.
5.Seyyedi F, Kopaei MR, Miraj S. Comparison between vaginal royal jelly and vaginal estrogen effects on quality of life and vaginal atrophy in postmenopausal women: a clinical trial study. Electron Physician. 2016;8(11):3184-92.