ยา | 2018-02-08 12:45:52

ทำไมกินยาคุม แล้วอ้วน

LINE it!

ในปัจจุบัน ยาคุมกำเนิดไม่ได้เป็นเพียงยาที่สาวๆรับประทานเพื่อการคุมกำเนิดเท่านั้น วัยรุ่นหลายคนเริ่มนิยมทานยาคุมกำเนิดเพื่อจุดประสงค์ด้านความสวยงาม เช่น ปรับฮอร์โมนให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ หรือ เพื่อรักษาสิว ผลพลอยได้ช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใสเต่งตึงขึ้น แต่ยาคุมก็มีข้อเสีย กวนใจที่ทำให้สาวๆ ไม่ชอบ คือ อ้วนขึ้น หรือ เรียกอีกอย่างว่า บวมน้ำ มันเกิดจากสาเหตุบ้าง

1. ฮอร์โมน Estrogen ไปยับยั้งเอนไซม์ ACE ในกระบวนการทำงานของ RAAS

ร่างกายกระตุ้นต่อมหมวกไตสร้าง aldosterone มากขึ้น จึงเกิดกระบวนการ ดูดน้ำและเกลือแร่กลับเข้าสู่หลอดเลือดเพิ่มขึ้น
และนี่คือหนึ่งสาเหตุของ ภาวะบวมน้ำ

อธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กระบวนการ Renin-angiotensin-aldosterone system (RAAS) คือ กระบวนการของร่างกายที่ทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิต ควบคุมการทำงานของไต หัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งถ้าร่างกาย พบว่าความดันร่างกายต่ำลง เลือดไหลเวียนไปที่ไตน้อยลง (renal blood flow) ไตจะหลั่งสารที่ชื่อว่า  renin มีหน้าที่เปลี่ยน angiotensinogen —>angiotensin I—>angiotensin II ด้วยเอนไซม์ Angiotensin converting enzyme (ACE)  angiotensin II มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดหดตัว  (vasoconstriction) ส่งผลทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น กระตุ้นต่อมหมวกไตให้หลั่ง  aldosterone  ที่มีฤทธิ์ในการดูดน้ำและเกลือแร่กลับเข้าสู่กระแสเลือด

2. ฮอร์โมน Progesterone สามารถเปลี่ยนไปเป็น aldosterone ได้ ทำให้เกิดกระบวนการ ดูดน้ำและเกลือแร่กลับเข้าสู่หลอดเลือด จึงเกิดภาวะบวมน้ำ ตามมา

อธิบายข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ฮอร์โมน progesterone นอกจากจะเปลี่ยนไปเป็น Aldosterone ได้แล้ว ยังมีฤทธิ์อีกด้านคือ Androgenic effect ซึ่งในปัจจุบัน progesterone มี 4-generation  คือ
generation 1 ประกอบไปด้วย Norethisterone,Norethis acetate,lynestrenol
generation 2 ประกอบไปด้วย Levonorgestrel,Norgestrel
generation 3ประกอบไปด้วย Desogestrel,Norgestimate,Gestodene (ฤทธิ์ androgenic น้อยกว่า 1&2)
generation 4 ประกอบไปด้วย Drosperinone (Anti-androgenic),Cypoterone acetate(Receptor-DHT)

ดังนั้น ยาคุมที่มีส่วนประกอบของ ฮอร์โมน progesterone ใน generation ที่ 4 จะไม่มีผลทำให้อ้วน หรือ บวมน้ำ เพราะ มีฤทธิ์ anti-androgenic effect จึงทำให้สาวๆ ส่วนใหญ่ต้องการที่จะหา เลือกยาคุมที่ไม่ทำให้บวมน้ำ นั่นเอง

3.การกระตุ้นเอนไซม์ COX-II เพิ่มการหลั่งของ PGI2

Estrogen กระตุ้นเอนไซม์ Cyclooxygenase II (COX-II) ที่อยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrium) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการเปลี่ยน Arachidonic acid ไปเป็น Prostaglandin I2 (PGI2) ซึ่ง PGI2 จะมีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือด (vasodilation) และเพิ่มการซึมผ่านของหลอดเลือด ทำให้น้ำสามารถรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดไปอยู่ภายนอกเซลล์ ทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Brosnihan k, Senanayake PS, Ferrario CM . Bi-directional actions of estrogen on the renin-angiotensin system [online]. [cited 12/11/2560]. Available from: http://www.scielo.br
  2. Nina S. Stachenfeld. Sex Hormone Effects on Body Fluid Regulation. [online]. [cited 12/11/2560]. available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc
  3. Mags E Beksinska, Jenni A Smit, Franco Guidozzi. Weight Change and Hormonal Contraception: Fact and Fiction [online]. 2011 [cited 12/11/2560]. Available from: https://www.medscape.com/viewarticle/734669_4
©2017 PharmRoo.com | Powered by WordPress | Developed by chaivoot