สมุนไพร | 2017-07-03 13:41:37

หญ้าหนวดแมว ช่วยขับนิ่ว ได้หรือไม่?

LINE it!

หญ้าหนวดแมว เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่รู้จักกันมานานในประเทศไทย มีสรรพคุณมากมาย เช่น ต้านการอักเสบ ลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด และที่สำคัญ คือ ฤทธิ์ในการขับปัสสาวะและป้องกันการเกิดนิ่ว เนื่องจากมีงานวิจัยพบว่าสารสกัดจากหญ้าหนวดแมวสามารถป้องกันการเกิดนิ่วที่เกิดจากผลึกยูริกและแคลเซียมออกซาเลตได้ โดยการขับสารเหล่านี้ออกมาทางปัสสาวะ แต่อย่างไรก็ตามสรรพคุณเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการทำวิจัยในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองเท่านั้น ซึ่งการทำวิจัยในคนนั้นยังมีข้อมูลน้อย ดังนั้นประสิทธิภาพของการใช้หญ้าหนวดแมวในคนจึงไม่สามารถบอกผลได้อย่างชัดเจน

การรับประทานหญ้าหนวดแมวแม้ผลการวิจัยจะพบว่าไม่ทำให้เกิดพิษเมื่อใช้ในขนาดสูง แต่อย่างไรก็ตามก็ควรระมัดระวังการใช้ในคนที่ต้องจำกัดปริมาณ โพแทสเซียม เช่น คนที่เป็นโรคไต หรือการทำงานของหัวใจผิดปกติ เนื่องจากหญ้าหนวดแมวมีปริมาณโพแทสเซียมสูง นอกจากนี้หากรับประทานร่วมกันยาเบาหวานก็อาจจะทำให้เกิดการเสริมฤทธิ์กันจนทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthosiphon aristatus (Blume) Miq.

ชื่อพ้อง : Orthosiphon stamineus Berth, Orthosiphon grandiflorus Bold

ชื่อวงศ์ : Lamiaceae หรือ Labiatae

ชื่อท้องถิ่น : พยับเมฆ (กรุงเทพฯ), อีตู่ดง (เพชรบูรณ์), บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์)

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

หญ้าหนวดแมวเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก สูง 0.3-0.8 เมตร มีลักษณะลำต้นและกิ่งเป็นสี่เหลี่ยม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามและมีสีเขียวเข้ม แผ่นใบเป็นรูปไข่หรือรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ดอกมีลักษณะเป็นช่อที่ปลายยอด มีอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ชนิดที่มีดอกสีขาวอมม่วงอ่อน และพันธุ์ที่มีดอกสีฟ้า โดยดอกจะบานจากล่างขึ้นข้างบน ดอกจะมีเกสรเพศผู้ประมาณ 3-4 เส้น มีลักษณะเป็นเส้นยาวยื่นออกมานอกกลีบดอกคล้ายหนวดแมว โดยที่ปลายเกสรจะมีติ่งสีน้ำเงินอมม่วง ผลของหญ้าหนวดแมว เป็นผลแห้งไม่แตก เมล็ดจะมีลักษณะรีและแบน มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร  เปลือกเมล็ดย่น20

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

1.ฤทธิ์ขับปัสสาวะ

จากการศึกษาพบว่าสารสกัดหญ้าหนวดแมวมีฤทธิ์ในการขับปัสสาสะ จากการที่ไปกระตุ้น  adenosine receptor ชนิด A1 ที่เยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะทำให้กล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะ (uroepithelial tissue) เกิดการหดตัว และกล้ามเนื้อเรียบของท่อปัสสาวะเกิดการคลายตัว จึงเกิดการขับปัสสาวะขึ้น2,3,4

2. นิ่วในไต

สาร polysaccharides ของหญ้าหนวดแมวมีการศึกษาพบว่าช่วยป้องกันการเกิดนิ่วที่เกิดจากผลึกของ calcium oxalate ในเนื้อเยื่อไตของหนูทดลอง5 โดยกลไกการออกฤทธิ์ของสารในหญ้าหนวดแมวคาดว่าน่าจะมาจากหลายกลไกประกอบกัน (multiple metabolic pathways) นอกจากนี้ฤทธิ์ขับปัสสาวะของหญ้าหนวดแมวอาจเป็นการช่วยละลายนิ่วและขับออกมากับปัสสาวะง่ายขึ้น อีกทั้งช่วยขับกรดยูริกและป้องกันการเกิดนิ่วจากกรดยูริกได้อีกด้วย4,6

3. เบาหวาน

จากการศึกษาพบว่าสารสกัดจากใบของหญ้าหนวดแมวสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองได้ โดยการไปยับยั้งเอนไซม์ alpha-glucosidase7,8,9 และยังไปช่วยเพิ่มการแสดงออกของยีนอินซูลิน โดยสารสำคัญที่คาดว่าช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือดคือ sinensetin ซึ่งพบว่ามีฤทธิ์ในการยับยั้ง เอนไซม์ alpha-glucosidase สูงกว่าสารสกัดจากหญ้าหนวดแมวถึง 7 เท่า10

4. ความดันโลหิตสูง

ฤทธิ์ของสารสกัดจากใบของหญ้าหนวดแมวต่อการลดความดันโลหิตสูงนั้น พบว่าหญ้าหนวดแมวสามารถลดความดันโลหิตได้โดยการไปยับยั้ง alpha 1 adrenergic และ angiotension 1 receptor ที่หลอดเลือดทำให้หลอดเลือดขยายตัว จึงเกิดการลดความดันโลหิตตามมา11 โดยสารสำคัญที่คาดว่าช่วยในการออกฤทธิ์คือสาร methylripariochromene13 และสารกลุ่ม diterpenes คือ neoorthosiphols A และ B12

5. ต้านการอักเสบ

สารสกัดจากใบของหญ้าหนวดแมวพบมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบได้ดี14 จึงถูกนำมาใช้โรคต่างๆที่มีการอักเสบต่างๆ เช่น รูมาตอยด์ ข้อเข่าเสื่อม เก๊าท์ หรือกล้ามเนื้ออักเสบเป็นต้น โดยกลไกหนึ่งในการลดการอักเสบคือ ยับยั้งเอนไซม์ cytosolic phospholipase A2a (cPLA2a) ทำให้การสลาย phospholipid ลดลงสารสำคัญในหญ้าหนวดแมวที่พบว่าช่วยลดการอักเสบคือสาร sinensetin, eupatorin และ ursolic acid โดยสารเหล่านี้จะไปยับยั้งการแสดงออกของยีน iNOS และ COX-2 ทำให้การสังเคราะห์ nitric oxide และ PGE2 ซึ่งเป็นสารทำให้เกิดการอักเสบลดลง15,16

6. ไข้

จากการศึกษาพบว่าสารสกัดจากใบของหญ้าหนวดแมวมีคุณสมบัติในการต้านไข้ได้ดี โดยมีสาระสำคัญในการออกฤทธิ์คือ rosmarinic acid, sinensetin, eupatorin และ tetramethoxyflavone17

7. ตับ

สารสกัดจากหญ้าหนวดแมวมีคุณสมบัติในการปกป้องเนื้อเยื่อตับ โดยการไปต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันและลดการเกิดสารอนุมูลอิสระ รวมถึงทำให้เอนไซม์ตับกลับไปทำงานได้อย่างปกติ25,26

8. มะเร็ง

สารสกัดจากใบของหญ้าหนวดแมวพบว่ามีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก โดยการเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งเกิดการตาย (apoptosis)18 และเมื่อสกัดสาร eupatorin ออกมาจากใบของหญ้าหนวดแมวก็พบว่ามีฤทธิ์เหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งเกิดการตายเช่นเดียวกัน โดยสาร eupatorin จะไปยับยั้งวงจรการแบ่งเซลล์ ระยะ G2/M  โดยฤทธิ์ของสาร eupatorin ไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติ19

สรรพคุณที่มีผลต่อร่างกาย

ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ขับนิ่วขนาดเล็ก1

ส่วนที่นำมาใช้ :

ราก – ขับปัสสาวะ

ต้น –  แก้โรคไต ขับปัสสาวะ รักษาโรคกระษัย รักษาโรคปวดตามสันหลัง และบั้นเอว รักษาโรคนิ่ว รักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ

ใบ –  รักษาโรคไต รักษาโรคปวดข้อ ปวดหลัง ไขข้ออักเสบ ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำขับกรดยูริคแอซิดจากไต20

ความเป็นพิษของสมุนไพร

จากการศึกษาพบว่าเมื่อให้หญ้าหนวดแมวในขนาด 5 g/kg ในหนูทดลอง ไม่ทำให้เกิดพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง21,22 การทำงานของตับไม่เปลี่ยนแปลง23 และไม่ทำให้เกิดพิษต่อระบบสืบพันธ์แม้ว่าจะให้ในขนาดถึง 2 g/kg24

เอกสารอ้างอิง

  1. บัญชียาหลักแห่งชาติ (National List of Essential Medicines). 2556;[108 หน้า]. Available at : https://www.thaihof.org/sites/default/files/herbal_book_56_0.pdf
  2. Yuliana ND, Khatib A, Link-Struensee AM, Ijzerman AP, Rungkat-Zakaria F, Choi YH, Verpoorte R. Adenosine A1 receptor binding activity of methoxy flavonoids from Orthosiphon stamineus. Planta medica. 2009 Feb;75(02):132-6.
  3. Prakasam HS, Herrington H, Roppolo JR, Jackson EK, Apodaca G. Modulation of bladder function by luminal adenosine turnover and A 1 receptor activation. American Journal of Physiology-Renal Physiology. 2012 Jul 15;303(2):F279-92.
  4. Janpen Tangjitjareonkun, Waraporn Yahayo, Roongtawan Supabphol. Application of Orthosiphon stamineus for diuretic effect. J Med Health Sci 2017;24(1):67-78
  5. Zhong YS, et al. Prophylactic effects of Orthosiphon stamineus Benth. extracts on experimental induction of calcium oxalate nephrolithiasis in rats. J Ethnopharmacol. (2012)
  6. Arafat OM, Tham SY, Sadikun A, Zhari I, Haughton PJ, Asmawi MZ. Studies on diuretic and hypouricemic effects of Orthosiphon stamineus methanol extracts in rats. Journal of Ethnopharmacology. 2008 Aug 13;118(3):354-60.
  7. Mohamed EA, Yam MF, Ang LF, Mohamed AJ, Asmawi MZ. Antidiabetic properties and mechanism of action of Orthosiphon stamineus Benth bioactive sub-fraction in streptozotocin-induced diabetic rats. Journal of acupuncture and meridian studies. 2013 Feb 28;6(1):31-40
  8. Mohamed EA, Ahmad M, Ang LF, Asmawi MZ, Yam MF. Evaluation of α-glucosidase inhibitory effect of 50% ethanolic standardized extract of Orthosiphon stamineus benth in normal and streptozotocin-induced diabetic rats. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 2015 Nov 16;2015.
  9. Sriplang K, Adisakwattana S, Rungsipipat A, Yibchok-Anun S. Effects of Orthosiphon stamineus aqueous extract on plasma glucose concentration and lipid profile in normal and streptozotocin-induced diabetic rats. Journal of Ethnopharmacology. 2007 Feb 12;109(3):510-4.
  10. Mohamed EA, Siddiqui MJ, Ang LF, Sadikun A, Chan SH, Tan SC, Asmawi MZ, Yam MF. Potent α-glucosidase and α-amylase inhibitory activities of standardized 50% ethanolic extracts and sinensetin from Orthosiphon stamineus Benth as anti-diabetic mechanism. BMC complementary and alternative medicine. 2012 Oct 8;12(1):176.
  11. Manshor NM, Dewa A, Asmawi MZ, Ismail Z, Razali N, Hassan Z. Vascular reactivity concerning Orthosiphon stamineus Benth-mediated antihypertensive in aortic rings of spontaneously hypertensive rats. International journal of vascular medicine. 2013 Jun 26;2013.
  12. Ohashi K, Bohgaki T, Matsubara T, SHIBUYA H. Indonesian Medicinal Plants. XXIII. Chemical Structured of Two New Migrated Pimarane-type Diterpenes, Neoorthosiphols A and B, and Suppressive Effects on Rat Thoracic Aorta of Chemical Constituents Isolated from the Leaves of Orthosiphon aristatus (Lamiaceae). Chemical and pharmaceutical bulletin. 2000 Mar 1;48(3):433-5.
  13. Matsubara T, Bohgaki T, Watarai M, SUZUKI H, OHASHI K, SHIBUYA H. Antihypertensive actions of methylripariochromene A from Orthosiphon aristatus, an Indonesian traditional medicinal plant. Biological and Pharmaceutical Bulletin. 1999 Oct 15;22(10):1083-8.
  14. Yam MF, Asmawi MZ, Basir R. An investigation of the anti-inflammatory and analgesic effects of Orthosiphon stamineus leaf extract. Journal of Medicinal Food. 2008 Jun 1;11(2):362-8.
  15. Hsu CL, Hong BH, Yu YS, Yen GC. Antioxidant and anti-inflammatory effects of Orthosiphon aristatus and its bioactive compounds. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 2010 Jan 22;58(4):2150-6.
  16. Laavola M, Nieminen R, Yam MF, Sadikun A, Asmawi MZ, Basir R, Welling J, Vapaatalo H, Korhonen R, Moilanen E. Flavonoids eupatorin and sinensetin present in Orthosiphon stamineus leaves inhibit inflammatory gene expression and STAT1 activation. Planta medica. 2012 May;78(08):779-86.
  17. Yam MF, Ang LF, Basir R, Salman IM, Ameer OZ, Asmawi MZ. Evaluation of the anti-pyretic potential of Orthosiphon stamineus Benth standardized extract. Inflammopharmacology. 2009 Feb 1;17(1):50-4.
  18. Al-Suede FS, Khadeer Ahamed MB, Abdul Majid AS, Baharetha HM, Hassan LE, Kadir MO, Nassar ZD, Abdul Majid A. Optimization of cat’s whiskers tea (orthosiphon stamineus) using supercritical carbon dioxide and selective chemotherapeutic potential against prostate cancer cells. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 2014 Sep 7;2014.
  19. Dolečková I, Rárová L, Grúz J, Vondrusová M, Strnad M, Kryštof V. Antiproliferative and antiangiogenic effects of flavone eupatorin, an active constituent of chloroform extract of Orthosiphon stamineus leaves. Fitoterapia. 2012 Sep 30;83(6):1000-7.
  20. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2560,จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_7.htm
  1. Mohamed EA, Lim CP, Ebrika OS, Asmawi MZ, Sadikun A, Yam MF. Toxicity evaluation of a standardised 50% ethanol extract of Orthosiphon stamineus. Journal of Ethnopharmacology. 2011 Jan 27;133(2):358-63.
  2. Abdullah NR, Ismail Z, Ismail Z. Acute toxicity of Orthosiphon stamineus Benth standardized extract in Sprague Dawley rats. Phytomedicine. 2009 Mar 31;16(2):222-6.
  3. Chin JH, Abas HH, Sabariah I. Toxicity study of orthosiphon stamineus benth (misai kucing) on Sprague dawley rats. Trop Biomed. 2008 Apr 1;25(1):9-16.
  4. Muhammad H, Sulaiman SA, Ismail Z, Paumgartten FJ. Study on the developmental toxicity of a standardized extract of in rats Orthosiphon stamineus. Revista Brasileira de Farmacognosia. 2013 May 1;23(3):513-20.
  5. Alshawsh MA, Abdulla MA, Ismail S, Amin ZA. Hepatoprotective effects of Orthosiphon stamineus extract on thioacetamide-induced liver cirrhosis in rats. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 2011 May 5;2011.
  6. Yam MF, Basir R, Asmawi MZ, Ismail Z. Antioxidant and hepatoprotective effects of Orthosiphon stamineus Benth. standardized extract. The American journal of Chinese medicine. 2007;35(01):115-26.
©2017 PharmRoo.com | Powered by WordPress | Developed by chaivoot