การทำงานของสมอง medulla oblongata ในส่วน vomiting center ที่ได้รับสัญญาณจากหลากหลายตำแหน่งคือ
Cortex และ limbic system เกิดจากการได้กลิ่น หรือเห็นสิ่งที่ทำให้เกิดการอาเจียน
Chemoreceptor trigger zone จะถูกกระตุ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในเลือด
Vestibular apparatus ของหูชั้นกลางซึ่งจะถูกกระตุ้นจากการเปลี่ยนท่าทาง
Peripheral pathway อื่นๆ เช่น neurotransmitter receptor ในทางเดินอาหาร, การกระตุ้น vagal nerves
ยา Domperidone เป็นยาต้านอาเจียนที่มีกลไกไป ยับยั้งการออกฤทธิ์ของ dopamine โดยการปิดกั้นการจับกันของ dopamine กับตัวรับ (dopamine D2 receptor antagonist) ซึ่งปกติแล้ว dopamine จะมีผลต่อระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) ทำให้ระบบทางเดินอาหารเคลื่อนไหวได้ช้าและทำงานลดลง เมื่อ domperidone ยับยั้งการออกฤทธิ์ของโดปามีนจึงส่งผลให้ทางเดินอาหารเคลื่อนที่มากขึ้น
ยา Metoclopramide เป็นยาต้านอาเจียน โดยไปออกฤทธิ์เป็น dopamine D2 receptor antagonist คล้ายกันกับ domperidone แต่มีความแตกต่างกันคือ มีฤทธิ์เป็น 5HT3 receptor antagonist และ 5HT4 receptor agonist
ถ้า 5HT3 receptor ถูกกระตุ้นจะทำให้เกิดการปลดปล่อยของสารสื่อประสาทรวมถึง dopamine ด้วย ดังนั้นเมื่อ metoclopramide ไปปิดกั้น 5HT3 receptor ก็จะส่งผลให้ลดการปลดปล่อยของ dopamine ทำให้ทางเดินอาหารเคลื่อนที่ได้มากขึ้น
ส่วนการกระตุ้นที่ 5HT4 receptor จะมีผลเพิ่มการปลดปล่อย ของสารสื่อประสาทคือ acetylcholine ทำให้ทางเดินอาหารเคลื่อนที่ได้มากขึ้นจึงสามารถต้านการอาเจียนได้ Metoclopramide มีผลต่อตัวรับหลายชนิด รวมถึง สามารถปิดกั้นตัวรับชนิด 5HT2 ได้จึงทำให้เกิดอาการง่วงนอน ซึ่งเป็นอาการไม่พึงประสงค์ของยาที่แตกต่างจาก domperidone
ในคนท้องสามารถทานยาแก้อาเจียนที่ชื่อ dimenhydrinate ร่วมกับ vitamin B6 เพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ เนื่องจาก dimenhydrinate เป็น antihistamine จับที่ H1 receptor บริเวณ vestribular ส่วน vitamin B6 เป็น cofactor ร่วมในการทำงานของ glutamic acid decarboxylase ที่ใช้ในการเปลี่ยน glutamic acid เป็น GABA ซึ่งมีฤทธิ์เป็น inhibit neurotransmitter จึงมักใช้ต้านอาเจียนในคนท้องได้
1. Medscape. Dimenhydrinate [Internet]. [cited 2019 Nov 1] . Available from: https://reference.medscape.com/drug/dramamine
2. Medscape. Metoclopramide [Internet]. . Available from: https://www.medscape.com/viewarticle/729220_4
3. Lee MJ, Choi S, Im W (2014) 5-HT4 Receptor Agonists in the Treatment of Gastrointestinal Motility Disorders: Current Status and Perspective. Int J Gastroenterol Disord Ther 1: 108. doi: http://dx.doi.org/10.15344/2393-8498/2014/108.
4. กิติพล นาควิโรจน์. Nausea and vomiting [Internet]. [cited 2019 Oct 31]. Available from: https://med.mahidol.ac.th/fammed/th
5. มยุรี ตันติสิระ. ยาออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร [Internet]. [cited 2019 Oct 31]. Available from: https://www.slideshare.net/UtaiSukviwatsirikul