มะระขี้นก เป็นพืชในตระกูลมะระ ที่มีรสชาติขมเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งรสขมนี่นั้นทำให้ตัวมันมีสรรพคุณทางยามากมาย นำมาใช้รักษาโรคได้ตั้งแต่เมล็ดไปจนถึงยอด ส่วนใบ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยระบาย เมล็ด ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม ส่วนผลช่วยลดไข้ ลดการอักเสบ กระตุ้นความยากอาหาร บำรุงร่างกาย เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับพยาธิ แก้ตับและม้ามอักเสบ และยังลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากมีสาร Charantin มีฤทธิ์เสริมการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ เสริมการเผาผลาญน้ำตาล เพิ่มความไวต่ออินซูลิน เพิ่มความทนต่อกลูโคส (glucose tolerance) นอกจากนี้ยังยับยั้งการหลั่งกลูโคสในลำไส้เล็ก มะระมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงมีคำแนะนำว่าไม่ควรทานติดต่อนานเกินไป ควรเว้นระยะกินอาหารผักอย่างอื่นบ้าง เพื่อให้ร่างกายเกิดสมดุล
ชื่อสมุนไพร : มะระขี้นก
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia Linn
ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae
ชื่ออื่นๆ : ผักเหย ผักไห มะร้อยรู มะห่อย มะไห่ สุพะซู สะพะเด Bitter cucumber Bitter melon Carilla fruit
เป็นพืชล้มลุกที่มีรสขม มีลักษณะเป็นไม้เถา ใบเดี่ยว รูปร่างคล้ายฝ่ามือ เรียงสลับกัน ดอกแยกเพศกัน และอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกสีเหลืองรูประฆัง ผลเป็นรูปกระสวย ผิวขรุขระ ผลดิบมีสีเขียวเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม
ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาในเลือด : มีการทดลองมากมายที่พบว่าสาร Charantin มีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยมีหลายกลไก ที่ออกฤทธิ์ ได้แก่ เสริมการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ เสริมการเผาผลาญ น้ำตาล เพิ่มความไวต่ออินซูลิน เพิ่มความทนต่อกลูโคส (glucose tolerance) นอกจากนี้ยังยับยั้งการ หลั่งกลูโคสในลำไส้เล็ก และยับยั้งเอนไซม์ Alpha-glucosidase
ฤทธิ์ลดไข้ : จากการทดลองของ Mokkhasmit M และคณะ โดยใช้สารสกัดเอทานอลและน้ำในอัตราส่วน 1:1 ให้เข้าทางกระเพาะอาหาร (gastric intubation) ของกระต่าย พบว่ามีฤทธิ์ลดไข้ นอกจากนั้น Bhakuni DS และคณะ ยังได้ทดลองกรอกเข้าทางกระเพาะอาหาร (intragastric) ของหนูขาว สามารถลดไข้ได้เช่นกัน
เจริญอาหาร บำรุงน้ำดี แก้โรคของม้ามและตับ ขับพยาธิ ยาระบายอ่อนๆ อมแก้ปากเปือย ปากเป็นขุย ลดไข้ ลดน้ำตาลในเลือด
ส่วนที่นำมาใช้ : เนื้อผลอ่อน
มีการทดลองของมะระขี้นกเกี่ยวกับการเกิดพิษมากมาย แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเกิดพิษหรือไม่ แต่มีการทดลองที่หาค่า LD50 ดังนี้ การทดลองของ Dhawan BN และคณะ เมื่อฉีดสารสกัดส่วน เหนือดินและไม่ระบุส่วนที่ใช้ด้วยเอทานอล (50%) เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้สัตว์ ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 681 มก./กก.