สมุนไพร | 2017-07-11 18:05:45

การะเกด ความสวยงามที่มากไปด้วยประโยชน์

LINE it!

“การะเกด” นอกจากจะเป็นพืชที่มีความสวยงามแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆได้ และยังมีสรรพคุณทางด้านยาอีกด้วย

ชื่อสมุนไพร :การะเกด

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Pandanus tectorius Blume

ชื่อวงศ์ : PANDANACEAE

ชื่ออื่นๆ :การะเกดด่าง, ลำเจียกหนู (กรุงเทพมหานคร), เตยด่าง ,เตยดง,ลำเจียก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นสูง 3-7 ม. มีรากอากาศข้างยาวและใหญ่ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับกัน เรียวแหลม ขอบใบมีหนามแข็ง แผ่นใบด้านล่างมีนวล ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน ออกปลายยอด ช่อดอกเพศผู้ตั้งตรง มีกาบหุ้ม กลิ่นหอม ช่อดอกเพศเมียกลม ผลรวมคล้ายผลสับปะรด เบียดกันเป็นก้อนกลม ผลอ่อนเป็นสีเขียวอมขาว แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อสุกมีกลิ่นหอม โคนสีเหลือง ตรงกลางสีแสด ตรงปลายยอดสีน้ำตาลอมเหลือง ผลที่สุกแล้วมีโพรงอากาศมาก ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปกระสวย สามารถออกผลได้ตลอดทั้งปี

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

เนื่องจากส่วนประกอบต่างๆของพืชมี essential oils, tannin, alkaloids, and glycosides ทำให้มีประสิทธิภาพหลากหลายในการรักษา

บรรเทาอาการปวดโดยเฉพาะอาการปวดศีรษะและอาการปวดที่เกิดจากข้ออักเสบ นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการไอ

Antioxidant Activity โดยใช้สารสกัดจากใบทดลองในห้องปฎิบัติการ ดู lipid peroxidation ซึ่งถูกวิเคราะห์จากthiobarbituric acid reactive substances (TBARS) ในตับของหนูปกติ เมื่อเทียบกับ vitamin E แล้วพบว่าสารสกัดจากใบของการะเกดมีฤทธิ์ Antioxidant อย่างมีนัยสำคัญ

Anti-Inflammatory Activity มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ยับยั้งการบวม

Analgesic Activity มีฤทธิ์แก้ไข้อย่างมีนัยสำคัญโดยออกฤทธิ์ทั้งที่ central และ peripheral เมื่อเทียบกับ codeine และ aspirin พบว่าสามารถใชเป็นยาบรรเทาอาการ rheumatoid arthritis ได้อีกด้วย

สรรพคุณที่มีผลต่อร่างกาย

ดอก มีกลิ่นหอม รสสุขุม ใช้ปรุงเป็นยาหอม ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ ขับเสมหะ บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ และใช้เคี่ยวน้ำมันทำน้ำมันใส่ผม

ราก มีรสเย็นและหวานเล็กน้อย นำมาปรุงเป็นยาแก้พิษเสมหะ พิษไข้ ขับปัสสาวะ และรากอากาศที่โผล่ออกมาจากโคนต้นสามารถปรุงเป็นยาแก้หนองใน แก้นิ่ว แก้ระดูขาวมีกลิ่นเหม็น แก้ปัสสาวะพิการ

ส่วนที่นำมาใช้ : ดอก,ราก

ความเป็นพิษของสมุนไพร

แป้งและน้ำมันที่ได้จากการะเกดต้องระวังในการใช้เนื่องจากมี calcium-oxalate (raphides and rhomboids) ในปริมาณมากทำให้เกิดการระคายเคืองปากได้ และมีการศึกษาในหนูทดลองพบว่าหนูลดการตอบสนองต่องการเคลื่อนไหว มึนงง จากการสังเกตพฤติกรรมของหนูอย่างเงียบๆ

เอกสารอ้างอิง

  1. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “การะเกด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/plantdat/pandanac/ptecto_1.htm
  2. PANDANACEAE Pandanus tectorius  Blume .ฐานข้อมูล PHARM.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.medplant.mahidol.ac.th/pharm/botanic.asp?bc=0544&kw=การะเกด*
  3. Green Deane. Pandanus. Available from:http://www.eattheweeds.com/pandanus/
  4. Prafulla P. Adkar and V. H. Bhaskar. A Review on
  5. Ethnopharmacology, Phytochemistry, and Nutritional Aspects. Volume 2014, Article ID 120895, 19 pages
©2017 PharmRoo.com | Powered by WordPress | Developed by chaivoot