เราอาจจะเคยได้ยินอยู่บ่อยๆว่า โปรตีน มีหน้าที่ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อทุกเซลล์ และเป็นแหล่งสะสมพลังงาน สามารถเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรงขึ้น ต่อสู้กับเชื้อโรคได้
และจะเห็นว่าในปัจจุบัน ได้นำ โปรตีน มาใช้ประโยชน์ เช่น นำโปรตีน มากินเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ทดแทนเนื้อเยื่อ ที่ร่างกายอาจเกิดการบาดเจ็บในระหว่างออกกำลังกาย นอกจากจะซ่อมแซมให้หายเร็วได้แล้วนั้น ยังสามารถเสริมสร้างรูปร่างกล้ามเนื้อ ให้สวยงามเป็นไปตามที่ต้องการได้ ซึ่งโปรตีนที่นำมากิน ก็มีชื่อว่า เวย์โปรตีน (Whey Protein)
หรือเมื่อร่างกายมีสภาวะเจ็บป่วย โปรตีน สามารถเสริมสร้างเพิ่มภูมิต้านทาน ให้มีความแข็งแรงมากขึ้น เช่นเพิ่มการทำงานเม็ดเลือดขาวให้ต่อสู้กับเชื้อโรคให้หายจากการเจ็บป่วยได้ จะพบได้ในวงการแพทย์ที่รักษาเกี่ยวกับคนไข้มะเร็งที่จะต้องได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) ได้มีการแนะนำ ให้คนไข้ที่ได้รับยารักษา ควรรับประทานโปรตีน จากไข่ขาวให้มากๆ เพราะมีโปรตีนที่ชื่อว่า Albumin ส่งผลทำให้ เม็ดเลือดขาดที่ถูกทำลายด้วยยา สามารถเสริมสร้างได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานให้กับคนไข้ เป็นต้น
ไลซีน (Lysine) พบว่า เป็นสารอาหาร ที่สามารถพบได้ในอาหารเสริมสำหรับเด็ก ที่ไม่ค่อยอยากทานอาหาร เพราะเมื่อทานเข้าไปแล้วมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากกินข้าวได้มากขึ้น ซึ่ง ไลซีน(Lysine) นั้นคือ กรดอะมิโน จำเป็นที่เป็นส่วนหนึ่งของโปรตีน
เริ่มมีคำถามเกิดขึ้นว่า โปรตีน นั้น มีหน่วยย่อยเล็กๆ ที่ชื่อว่า กรดอะมิโน ซึ่งมีหลากหลายชื่อ หลากหลายหน้าที่ จึงมีฤทธิ์ช่วยร่างกายที่แตกต่างกันออกไป จึงพบว่า โปรตีน ที่เราควรรู้จักมีทั้งหมด 20 ชนิด มี 9 ชนิดที่จำเป็นต้องกินเสริม เพราะร่างกายสร้างขึ้นมาเองไม่ได้ และ อีก 11 ชนิด ไม่ต้องเสริมเพราะร่างกายสามารถสร้างได้เอง
9 ชนิดของโปรตีนที่จำเป็น (Essential) ต้องร่างกายต้องรับประทานเสริมเข้าไป คือ
Phenylalanine เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท dopamine, epinephrine และ norepinephrine และ ฮอร์โมน tyrosine โครงสร้างและหน้าที่ของโปรตีน เอนไซม์ และสร้างกรดอะมิโนอื่นๆ
Valine ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและฟื้นฟูกล้ามเนื้อ รวมถึงการสร้างพลังงาน
Threonine เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างโปรตีน เช่น คอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ connective tissue บริเวณผิวหนัง รวมถึงการเผาผลาญไขมันและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
Tryptophan ช่วยในเรื่องการนอนหลับ การรักษาสมดุลของไนโตรเจน เป็นสารตั้งต้นของซีโรโทนินและสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการหิว การนอนหลับ และอารมณ์
Methionine เป็นส่วนสำคัญในการเมตาบอลิซึมและการกำจัดสารพิษ มีความจําเป็นต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ การดูดซึมของ zinc, selenium และแร่ธาตุที่จำเป็นต่างๆ
Leucine ทำหน้าที่คล้ายกับ valine โดย leucine มีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ รวมถึงการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การกระตุ้นการรักษาบาดแผล และการสร้างโกรทฮอร์โมน (growth hormones)
Isoleucine ช่วยในเรื่องการเผาผลาญของกล้ามเนื้อ มีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การสร้างฮีโมโกลบิน และการควบคุมพลังงาน
Lysine เป็นส่วนสำคัญในการสร้างฮอร์โมนและเอนไซม์และการดูดซึมแคลเซียม การสร้างพลังงาน การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
Histidine เป็นสารตั้งต้นในการสร้าง histamine ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน การย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์ การนอนหลับ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนช่วยในการเก็บรักษา myelin sheath และป้องกัน barrier ที่อยู่บริเวณเซลล์ประสาท
11 ชนิดของโปรตีนที่ไม่จำเป็น (Non-Essential) เพราะร่างกาย สามารถสร้างขึ้นมาได้เอง แต่ถ้า ร่างกายภูมิต้านทานต่ำ ก็อาจจะสร้างได้ไม่ทันได้เช่นกัน จึงต้องทำความรู้จักกันไว้ เพื่อสามารถหามาเสริมเพิ่มเติมได้ในอนาคต
Alanine ยับยั้ง pyruvate kinase and hepatic autophagy, gluconeogenesis, transamination และ glucose–alanine cycle
Arginine เป็นส่วนสำคัญในการควบคุมความดันโลหิต ระบบภูมิคุ้มกันและการหลั่งฮอร์โมน แต่จัดเป็นกรดอะมิโนจำเป็นในเด็ก
Asparagine เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และการควบคุมอารมณ์
Aspartate พบได้ที่บริเวณ neuroendocrine tissues of invertebrates และ vertebrates ช่วยพัฒนาระบบประสาท การมองเห็น และมีส่วนช่วยในการทำงานของสารสื่อประสาท
Cysteine เป็นส่วนประกอบสำคัญของเล็บ ผิวหนัง และเส้นผม เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญในการสร้างคอลลาเจน และอีสาสติน นอกจากนี้ยังเป็นสารต้านอนุมุลอิสระ
Glutamate and Glutamine กลูตาเมตมีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ร่างกายต้องการกลูตาเมตร่วมกับซิสเตอีน (cysteine) และไกลซีน (glycine) เพื่อสร้างกลูทาไทโอน (glutathione) ซึ่งเป็นกรดแอมิโนและเป็น antioxidant
Glutamic acid มีส่วนช่วยในการสร้างโปรตีน มีส่วนช่วยในการสร้างสารสื่อประสาท gamma-aminobutyric acid (GABA)
Glycine เป็นโครงสร้างหลักของคอลลาเจน (collagen) ซึ่งพบในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ไกลซีนเป็นสารเริ่มต้นในการสังเคราะห์ฟอสโฟครีตีน หรือครีตีนฟอสเฟต ซึ่งเป็นสารที่ให้พลังงานสูงชนิดหนึ่งในร่างกาย มีส่วนสำคัญในเรื่องคุณภาพการนอนหลับ
Proline มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงสร้างและหน้าที่ของคอลลาเจน
Serine มีส่วนสำคัญในการเผาผลาญ การสังเคราะห์พิวรีนและ ไพริมิดีน เป็นสารตั้งต้นของไกลซีน และซีสเตอีน
Tyrosine เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน nitrosation และ sulfation เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์dopamine, epinephrine, norepinephrine และ thyroid hormones