โภชนาการ | 2017-07-15 08:38:49

แม่ตั้งครรภ์ กิน Fish Oil ป้องกันโรคหอบหืดในลูกน้อยได้หรือไม่?

LINE it!

ทาน fish oil ในคนท้อง เพื่อป้องกันโรคหอบหืดในลูกได้หรือไม่ ?

โรคหอบหืด คือ ภาวะที่หลอดลมไวผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้น (airway hyperresponsiveness) ส่วนมากมักพบตั้งแต่เด็ก ลักษณะอาการ คือ ไอ หายใจไม่อิ่ม มีเสียงวี๊ด เป็น ๆ หาย ๆ เมื่อมีปัจจัยกระตุ้นจะทำให้หลอดลมตีบ ผ่าน IgE ทําให้เกิดการหลั่ง mediators ต่าง ๆ ได้แก่ histamine, bradykinin, leukotrienes, platelet-activating factor, prostaglandins และ thromboxane A2(1)

ที่มา http://www.preventmiscarriage.com/Literature-Review-Blog/2017/January/No-benefit-found-with-Intralipid-Therapy-Ground-.aspx

การทานไขมันชนิด n−6 polyunsaturated fatty acids (Omega-6) ปริมาณที่มาก ซึ่งพบในน้ำมันพืชที่ประกอบอาหาร และการทานไขมันชนิด n−3 polyunsaturated fatty acids (Omega-3) ลดลง ซึ่งพบได้ในปลาทะเลน้ำลึก ทำให้เกิดความไม่สมดุลของการได้รับไขมันทั้งสองชนิด โดยการมี Omega-6 ที่มากกว่า ส่งผลให้เกิดสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ (Pro-inflammatory) จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหอบหืด(2-4)

รายงานการศึกษาที่พบ

มีการศึกษาเกี่ยวกับการเกิดโรคหอบหืดในเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 5 ขวบ ซึ่งคลอดจากแม่ที่ทาน fish oil โดยแม่ที่ตั้งครรภ์ระยะไตรมาสที่ 3 จะได้รับ fish oil ขนาด 2 กรัม/วัน (EPA 1.1 กรัม และ  DHA 0.74 กรัม) ผลการศึกษาพบว่า เด็กที่คลอดจากครรภ์แม่ที่ทาน fish oil มีอาการหอบหืดหรือหายใจเสียงวี๊ดลดลงร้อยละ 34 แต่อย่างไรก็ตามยังพบ เด็กที่คลอดก่อนกำหนดจำนวน 1 ราย(4) โดยองค์การอนามัยโลก ได้แนะนำ fish oil ขนาด 300-500 มิลลิกรัม/วัน ในคนปกติ(5) ดังนั้น แม่ที่ต้องการทานอาหารเสริมเพื่อสุขภาพของเด็กในครรภ์ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

เอกสารอ้างอิง

  1. โรคหืด (Asthma) [Online]. Access. July 5, 2017, Available at: http://eacdbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf
  2. Blümer N, Renz H. Consumption of omega3-fatty acids during perinatal life: role in immuno-modulation and allergy prevention. J Perinat Med 2007; 35: Suppl 1:S12-8.
  3. Willers SM, Devereux G, Craig LCA, et al. Maternal food consumption during pregnancy and asthma, respiratory and atopic symptoms in 5-year-old children. Thorax 2007; 62: 773-9.
  4. Bisgaard H, Stokholm J, Chawes BL, Vissing NH, Bjarnadóttir E and Schoos AM. Fish Oil–Derived Fatty Acids in Pregnancy and Wheeze and Asthma in Offspring. N Engl J Med 2016;375:2530-9
  5. น้ำมันปลากับน้ำมันตับปลา แตกต่างกันอย่างไร [Online]. Access. July 5, 2017, Available at: http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/qa_full.php?id=1998
©2017 PharmRoo.com | Powered by WordPress | Developed by chaivoot