เมื่อเจอแสงวูบวาบหรือได้ยินเสียงดัง สามารถกระตุ้นการรับรู้ของสมองบริเวณ occipital lobe ได้โดยตรง ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปกระตุ้นที่ trigeminal nerve ตามกระบวนการเกิด CSD อันเป็นสาเหตุของการปวดหัวไมเกรน
ภาวะอดอาหาร การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียดหรือความกังวลจากปัญหาต่างๆ ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความเครียด (cortisol) ทำให้ร่างกายเกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่น (oxidative stress) ซึ่งไปมีผลกระตุ้นสมองให้หลั่งสารสื่อประสาทที่ก่อให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย รวมถึงการอักเสบของเส้นประสาท trigeminal และหลอดเลือดสมองด้วยเช่นกัน นำไปสู่การปวดหัวไมเกรนในที่สุด
นอกจากนี้ความเครียดยังส่งผลให้ร่างกายขับแร่ธาตุแมกนีเซียม (Mg2+) ออกจากร่างกายมากขึ้น ส่งผลให้ระดับแมกนีเซียมในสมองลดลง จึงทำให้สมองถูกกระตุ้นให้เกิด CSD ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย (lower threshold)
เมื่อรับประทานแอลกอฮอล์เข้าไป แอลกอฮอล์จะถูกเปลี่ยนแปลงโดยเอนไซม์ในร่างกาย (Alcohol dehydrogenase) ได้สารที่มีชื่อว่า อะเซตัลดีไฮด์ (Acetaldehyde) ซึ่งจะไปมีผลทำให้หลอดเลือดขยายตัวทั่วร่างกายรวมถึงหลอดเลือดในสมองด้วยเช่นกัน นอกจากนี้แอลกอฮอล์ในขนาดสูงยังสามารถกระตุ้นตัวรับ NMDA ซึ่งจะให้ผลเช่นเดียวกับ glutamate ในการกระตุ้นให้เกิด CSD ได้เช่นกัน
จากการศึกษาพบว่าผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ (alcoholism) จะมีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ (Hypomagnesemia) ส่งผลให้มีโอกาสเกิดการปวดหัวไมเกรนได้ง่ายและบ่อยครั้งมากขึ้นด้วย
สภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง (อากาศร้อน) เกินไป หรือการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วจะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นตัวรับอุณหภูมิ (stretching receptor) และส่งสัญญาณกระแสประสาทเข้าสู่สมองให้หลอดเลือดขยายตัวทั่วร่างกายเพื่อเป็นการระบายความร้อนออก ดังนั้นจึงทำให้หลอดเลือดสมองขยายตัวด้วยเช่นกัน จึงเป็นสาเหตุของการปวดหัวไมเกรน
ภาวะที่ร่างกายขาดน้ำจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ หรือการสูญเสียน้ำออกจากร่างกายอย่างผิดปกติ เช่น การท้องเสีย การเสียเหงื่อจากออกกำลังกายอย่างหนัก หรือผู้ที่รับประทานยาขับปัสสาวะ จะส่งผลให้ร่างกายเกิดความไม่สมดุลของระดับน้ำและเกลือแร่ (electrolyte imbalance) อย่างโซเดียม (Na+) โพแทสเซียม (K+) แคลเซียม (Ca2+) จึงทำให้เกิดการกระตุ้นสมองที่ผิดปกติไป และเกิดการกระตุ้นให้ปวดหัวไมเกรนได้
6.1 ผงชูรส หรือ โมโนโซเดียมกลูตาเมต (monosodium glutamate) เป็นสารประกอบของ glutamate ทำให้เป็นการเพิ่มปริมาณสาร glutamate เมื่อจับกับตัวรับในสมอง จะกระตุ้นให้เกิดกระบวนการ CSD และการปวดหัวไมเกรนต่อไปได้
6.2 ไนเตรท (Nitrate) และ ไนไตร์ท (Nitrite) เป็นสารที่ทำให้เนื้อสัตว์มีสีแดง พบมากในเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน กุนเชียง เป็นต้น สารไนเตรทและไนไตร์ทเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสามารถถูกเปลี่ยนแปลงเป็นสารไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) ซึ่งจะมีผลทำให้หลอดเลือดขยายตัวได้โดยตรง จึงส่งผลให้เกิดการปวดหัวไมเกรนได้
การศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน estrogen ในร่างกายช่วงก่อนมีประจำเดือนและในวัยหมดประจำเดือน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบหลอดเลือดและสมอง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความรุนแรงและโอกาสเกิดการปวดหัวไมเกรนอย่างมีนัยสำคัญ
การวิจัยพบว่าผู้ป่วยไมเกรนกลุ่มที่การรับประทานชอคโกแลตเป็นประจำจะมีจำนวนครั้งที่เกิดอาการปวดหัวไมเกรนมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทานชอคโกแลต โดยชอคโกแลตจะกระตุ้นการทำงานของสมอง จนสมองเกิดภาวะติด (craving) และทำให้สมองหลั่งสารเพิ่มความอยากอาหารมากขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง ซึ่งสามารถกระตุ้นการปวดหัวไมเกรนได้เป็นอย่างดี