ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) มักได้จากสัตว์ จำเป็นในการเจริญเติบโตของเซลล์ และเป็นส่วนประกอบของสารบางอย่าง แต่ต้องจำกัดปริมาณ เนื่องจากปริมาณที่มากเกินไป ทำให้ไขมันสะสม เกิดโรคอ้วน หรือจับที่ผนังหลอดเลือด เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
ไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fat) มักได้จากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด ไขมันชนิดนี้ส่งผลต่อร่างกายน้อยกว่าไขมันอิ่มตัว จึงมีผลต่อโรคอ้วนและโรคหลอดเลือดแดงแข็งน้อยกว่าไขมันอิ่มตัว
ไขมันไม่อิ่มตัว แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated fat) พบมากในน้ำมันมะกอก
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated fat) พบมากในน้ำมันข้าวโพด
สารชนิดหนึ่งที่พบได้ในน้ำมันพืช คือ phytosterol มีการศึกษาที่พบว่าสามารถลดไขมันได้ โดยป้องกันการดูดซึมไขมันจากลำไส้ กลไกดังกล่าวเกิดจากการที่ phytosterol รวมตัวกับ LDL เป็น micelle ได้เช่นเดียวกับ cholesterol แต่กลายเป็น micelle ที่ร่างกายไม่สามารถใช้เป็นพลังงานหรือนำไปใช้งานได้ ทำให้ถูกขับออกไปจากร่างกายโดยเร็ว ซึ่งน้ำมันข้าวโพด มี phytosterol เป็นจำนวนมาก
จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างน้ำมันข้าวโพดกับน้ำมันมะกอกในเรื่องผลของการลดไขมันในเลือด พบว่าน้ำมันข้าวโพดสามารถลดไขมันในเลือดชนิด LDL, non-HDL, cholesterol ได้ดีกว่าน้ำมันมะกอก[1]
น้ำมันพืชมีจุดเดือดต่ำ ไม่ทนความร้อน เหมาะสำหรับการทำอาหารประเภทผัด ซึ่งใช้เวลาไม่นาน หากโดนความร้อนมากและนานเกินไป อย่างเช่นการทำไปทอด จะทำให้กลายเป็นไขมันที่ไม่ดี แนะนำให้ใช้น้ำมันข้าวโพดในการประกอบอาหารประเภทสลัด สปาเก็ตตี้ พิซซ่า
Journal of lipidology. Corn oil improves the plasma lipoprotein lipid profile compared with extra-virgin olive oil consumption in men and women with elevated cholesterol: Results from a randomized controlled feeding trial