ตะไคร้ เป็นพืชตระกูลหญ้าที่มีการเจริญเติบโตง่าย มีหลายชนิด ได้แก่ ตะไคร้กอ ตะไคร้หอม ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหย นิยมนำมาประกอบอาหาร เช่น ต้มยำ
ตะไคร้มีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามิน เช่น วิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี อีกทั้งยังช่วยในเรื่องระบบทางเดินอาหาร เช่น ช่วยย่อยอาหาร ลดอาการปวดท้อง
นอกจากนี้ยังมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมาย น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่น ๆ จะช่วยกันแมลงได้
ชื่อสมุนไพร : ตะไคร้ (Lemongrass)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus
ชื่อวงศ์ : POACEAE / GRAMINAE
ชื่ออื่นๆ : คาหอม (แม่ฮ่องสอน), ไคร (ภาคใต้), จะไคร (ภาคเหนือ), เชิดเกรย, หัวสิงไค, เหลอะเกรย, สะเหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์)
พืชล้มลุก ลำต้นสูง 4-6 ฟุต ลำต้นมีกาบหุ้มอยู่รอบๆ รวมกันเป็นกอ ส่วนใบเรียวยาว ปลายใบมีขนหนาม ดอกเป็นช่อ และมีช่อดอกเล็กๆอยู่มากมาย
มีสารต้านอนุมูลอิสระ
ต้านเชื้อแบคทีเรีย โดย Citral, Citronellol, Geraneol และ Cineole (เชื้อที่ทำให้ท้องเสีย คือ E. coli)
ลดการบีบตัวของลำไส้ ลดการจุกเสียดแน่นท้อง โดยสาร cineole, linalool
กระตุ้นการขับน้ำดีของตับอ่อน โดยสาร Borneol, Fenchone และ Cineole
ขับลม โดยสาร Menthol, Camphor และ Linalool
มีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย ทั้งวิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินบี นอกจากนี้ยังมีโฟเลต แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมงกานีส
น้ำมันหอมระเหย ช่วยไล่แมลง
ล้างสารพิษ และกรดยูริก ด้วยการทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
ช่วยในการย่อยอาหาร ลดอาการปวดท้อง ขับลม ลดอาการตะคริวในลำไส้และท้องเสีย ช่วยป้องกันและลดแก๊สในลำไส้
น้ำมันหอมระเหย ช่วยซ่อมแซมและเสริมความแข็งแรงให้กับระบบประสาท กล้ามเนื้อผ่อนคลายมากขึ้นและลดอาการตะคริว
ลดอาการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวด
สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงผิว
ใบ แก้ไข้ ลดความดันโลหิต
แก้ไอ ขับเสมหะ
แก้นิ่ว
ส่วนที่นำมาใช้ : ราก ใบ
การรับประทานชาตะไคร้ มีบางรายที่มีปริมาณบิลลิรูบิน และ amylase สูงขึ้น จึงนับว่าปลอดภัย น้ำมันตะไคร้เมื่อผสมในน้ำหอม พบว่ามีอาการแพ้ 0.8% แต่อาจเกิดจากสารอื่น และมีรายงานความเป็นพิษต่อถุงลมปอดเมื่อสูดดมน้ำมันตะไคร้
เมื่อให้น้ำมันหอมระเหยตรงเข้าทางกระเพาะอาหารกระต่าย พบว่ามีพิษ และเมื่อป้อนสารสกัดใบด้วยแอลกอฮอล์และน้ำในอัตราส่วน 1:1 เข้ากระเพาะอาหารหนูเม้าส์ พบว่ามีพิษ สำหรับการศึกษาพิษเฉียบพลันของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ พบว่าหนูแรทกลุ่มที่ได้ตะไคร้จะโตเร็วกว่ากลุ่มควบคุม แต่ค่าเคมีในเลือดไม่เปลี่ยนแปลง
ระวังการใช้ในคนที่เป็นต้อหิน (glaucoma) เนื่องจาก citral จะทำให้ความดันในลูกตาเพิ่มขึ้น
1.Medthai. ตะไคร้, available at : https://medthai.com/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89/. Access 7 July 2017
2.พืชเกษตร. ตะไคร้, available at : http://puechkaset.com/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89/. Access 7 July 2017
3.Wikipedia. ตะไคร้, available at : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89. Access 7 July 2017