ก่อนที่เราจะรู้ถึง สาเหตุของ การกินยาคุมแล้วท้อง ได้นั้น มาทำความรุ้จักวิธีการทำงานของยาคุมกำเนิดที่มีผลต่อร่างกายเบื้องต้นกันก่อนว่า มีวิธีทำงาน และดูดซึมเข้าร่างกายอย่างไร
ยาคุมกำเนิด มีส่วนประกอบของฮอร์โมนอยู่ 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone Hormones) และ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen Hormones) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบ ของฮอร์โมนเอสโตรเจนสังเคราะห์ที่ชื่อว่า Ethinyl estradiol
เมื่อรับประทานยาคุมกำเนิดเข้าไป ร่างกายจะมีกระบวนการดูดซึมของฮอร์โมนดังนี้ คือ
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone Hormones) สามารถดูดซึมได้ทั้งหมดที่ ทางเดินอาหาร ภายใน 1-2 ชั่วโมง
ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen Hormones) ในรูปแบบสังเคราะห์ ชื่อว่า Ethinyl estradiol นั้นดูดซึมเข้าร่างกายที่บริเวณทางเดินอาหารเพียง 40% และมีบางส่วนจะถูกนำไปเปลี่ยนแปลงที่ตับซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า first-pass metabolism โดย cytochrome P450 3A4 ทำให้ได้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่เป็นรูปแบบไม่ออกฤทธิ์ (Inactive ethinyl estradiol conjugates) ซึ่งถูกสกัดออกมาจากน้ำดี แล้วส่งไปยังที่ลำไส้เล็กโดยในลำไส้เล็ก จะมีเชื้อแบคทีเรียที่ดีต่อร่างกาย หรือที่รู้จักกันว่า normal flora ช่วยหลั่งเอนไซม์ emzyme estradiol-beta-glucuronidase ที่สามารถเปลี่ยนฮอร์โมนเอสโตรเจนจาก ไม่มีฤทธิ์ให้กับมามีฤทธิ์ (active ethinyl estradiol)ได้อีกครั้งซึ่งจะเรียกกระบวนการนี้ว่า deconjugate metabolites เพื่อให้ได้ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีฤทธิ์ในการคุมกำเนิดได้อีกครั้ง(active ethinyl estradiol) โดยจะถูกดูดซึมกลับที่ลำไส้เล็กผ่านโดยผ่านกระบวนการ enterohepatic circulation
โดยปกติแล้วร่างกายของคนเรามีเชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่น หรือ เรียกว่าแบคทีเรียตัวดี(normal flora) พบตามส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งชื่อของเชื้อ หรือชนิดของเชื้อ ก็จะแตกต่างกันออกไป ตามอวัยวะของร่างกาย
เมื่อรับประทานยาปฎิชีวนะบางชนิด (Antibiotic) ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้กว้าง หรือ ฆ่าเชื้อได้หลายชนิด(Broad spectrum) เช่น ampicillin,amoxycillin เป็นต้น ส่งผลไปลดจำนวนเชื้อแบคทีเรีย ที่อยู่บริเวณลำไส้ (normal flora) ทำให้กระบวนการสร้างเอนไซม์ emzyme estradiol-beta-glucuronidase ที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงยาคุมกำเนิดที่ หมดฤทธิ์ ให้กับมามีฤทธิ์คุมกำเนิดได้อีกครั้ง( active ethinyl estradiol) นั้นน้อยลง
ดังนั้นการรับประทานยาปฏิชีวนะ ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้หลายชนิด (Broad spectrum) ส่งผลทำให้การดูดซึมกลับของยาคุมกำเนิดเข้าร่างกายลดลง จึงทำให้ประสิทธิในการคุมกำเนิดลดลง อาจทำให้เกิดการท้องขณะใช้ยาคุมกำเนิดได้
1.Ben M. Lomaestro.Do Antibiotics Interact With Combination Oral Contraceptives[Internet];August 27,2009.[Cited 2017 JUN 27].Available from :http://www.medscape.com/viewarticle/707926
2.Dr.Sa Ziai.Pharmacokinetics[Internet];http://slideplayer.com/slide/9240122/