อาการเจ็บป่วย | 2017-11-12 19:14:23

การเสียชีวิตกระทันหันขณะออกกำลังกาย

LINE it!

หลายคนอาจตื่นตระหนกเมื่อพบว่ามีข่าวการเสียชีวิตขณะออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ก็มาจากหัวใจวายเฉียบพลัน ทั้งนี้ตัวเลขการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นเป็นผลเนื่องมาจากการที่คนในยุคปัจจุบันคนหันมาออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น เราจะพบว่ามีสถานที่ที่ส่งเสริมการออกกำลังกายเช่นฟิสเนตหรือมีกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายมากขึ้นเช่นวิ่งมาราธอน ทั้งนี้รัฐบาลเองก็มีโครงการส่งเสริมให้ข้าราชการออกกำลังกายทุกวันพุธ ดังนั้นเมื่อมีผู้ออกกำลังกายมากขึ้นจึงเป็นการเพิ่มโอกาสที่เราจะพบผู้ที่เสียชีวิตขณะออกกำลังกายเพิ่มขึ้นนั่นเอง

สาเหตุการเกิดหัวใจล้มเหลวขณะออกกำลังกาย คือ 

สำหรับทุกคน ทั่วไปที่ไม่ใช่นักกีฬา

อาจเป็นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ในผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะอายุมากหรือน้อย เมื่ออกกำลังกายหักโหมเกินไปจะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เพื่อสูบฉีดนำเอาออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายสุดท้ายหัวใจจะรับภาระไม่ไหวเกิดหัวใจขาดเลือดและตามมาด้วยอาการหัวใจวายขึ้นมาได้ โดยอาการที่เป็นจะเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอกเป็นอาการนำ

ปัจจุบันด้วยแนวทางการใช้ชีวิตของคนที่มีความเครียดเพิ่มมากขึ้นและการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมทำให้เรามีความเสี่ยงจากโรคต่างๆได้ เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เพิ่มมากขึ้นซึ่งโรคเหล่านี้เป็นภัยเงียบสำคัญที่คนมักมองไม่เห็นนอกจากนี้ปัจจัยอื่นๆได้แก่ นอนหลับน้อย พักผ่อนน้อย สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เครียดสะสม ก็ทำให้ร่างกายไม่มีความพร้อมที่จะออกกำลังกายอย่างหนัก ดังนั้นต้องดูความพร้อมของตัวเองรวมถึงชนิดของการออกกำลัง กายว่าเป็นกีฬาที่เหมาะสมแล้วหรือไม่

สำหรับนักกีฬา

สาเหตุหลักๆส่วนใหญ่เกิดจากหัวใจ เริ่มต้นด้วยมีอาการ คลื่นไส้ หน้ามืด ใจสั่น หายใจสั้น หอบเหนื่อย และเริ่มเจ็บหน้าอก จุกแสบ แน่นบริเวณลิ้นปี่ บางทีเจ็บร้าวไปถึงบริเวณแขน คอ ไหล่ และกราม จนเกิดอาการเกร็ง จนเหงื่อออกท่วมตัว และ เป็นลมล้มฟุบในที่สุด ซึ่งอาการเหล่านี้ที่ได้กล่าวมาข้างต้น สาเหตุก็เกิดมาจากเส้นเลือดหัวใจ ตีบมากขึ้น ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจน้อยลง ส่งผลกระทบไปถึงกล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น แต่ในขณะที่เลือดไปเลี้ยงน้อยจนไม่มีเลือดเข้าสู่หัวใจ ผลที่ตามมาคือ เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด จนหัวใจวายเฉียบพลันนั่นเอง

สาเหตุอื่นๆ ซึ่งไม่ถึง 2% และสามารถพบได้ในคนที่อยู่ช่วงอายุต่ำกว่า 35-40 ปี คือ

  •  กล้ามเนื้อหัวใจหนา (HCM) 26%
  •  การกระแทกหน้าอกโดยตรงทำให้หัวใจหยุดเต้น 20%
  • เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจออกมาผิดตำแหน่ง เสี่ยงต่อการขาดเลือด 14%
  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากเชื้อไวรัส
  • ลื้นหัวใจตีบ ผิดรูป ลิ่มเลือดอุดตัน
  • หัวใจล้มเหลวจากDCM(dilated cardiomyopathy) heat stroke
  • เส้นเลือดหัวใจโคโรนารี่ตีบ 2.5%
  • มี 2% ที่ตรวจหัวใจหลังตายแล้วปกติหมดเลย ไม่พบอะไร พวกนี้จะเป็นพวกที่เกิดจากมีการเต้นหัวใจผิดจังหวะ หรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ion channel disease , prolong QT

วิธีดูแลรักษาตนเองอย่างไร ป้องกันไม่ให้มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

วิธีป้องกันทำได้โดย พบแพทย์และตรวจร่างกายก่อนและระหว่างออกกำลัง ได้แก่ ตรวจคลื่นหัวใจทั้งขณะพัก ออกกำลัง และการทำ เอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็ก (MRI) โดยเฉพาะผู้มีความเสี่ยง เช่นมีประวัติพวกเจ็บอก ใจเต้นผิดปกติ หรือวูบขณะ หรือหลังออกกำลัง หรือขณะปกติ ญาติพี่น้องเป็น หรืออายุมากกว่า 35 ปี

การออกกำลังกายมีหลายประเภท เช่น ออกกำลังเพื่อเพิ่มสมรรถภาพของปอดและหัวใจ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หรือเพื่อการรักษา เช่น ฝึกการทรงตัว ฝึกการประสานงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพมีประโยชน์ต่อร่างกายทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น การเตะฟุตบอล ไม่ใช่การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีบุคคลนั้นมีอายุอยู่ในช่วง   40-60 ปี  เนื่องจากผู้ป่วยวัยนี้จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอันตรายจากการออกกำลังกายด้วยการเตะฟุตบอล

ดังนั้นเราควรต้องเลือกออกกำลังกายให้เหมาะสมและถูกต้องเพื่อให้เกิดประโยชน์และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีและเหมาะสมสามารถใช้ได้กับทุกคน ได้แก่ การเดินเร็วๆ วิ่ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน กระโดดเชือก และเต้นแอโรบิก ฯลฯ การออกกำลังกายเหล่านี้เป็นการออกกำลังเพื่อเพิ่มสมรรถภาพของปอดและหัวใจ ช่วยให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ทำงานอย่างต่อเนื่อง

วิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องคือควรจะออกด้วยด้วยความแรงเหมาะสมหรือไม่หักโหมจนเกินไป ควรออกในระยะเวลาและความถี่ที่เพียงพอไม่มากเกินไป เช่นให้มีระยะเวลาประมาณ 30 – 60 นาที หรือออกจนเริ่มรู้สึกเหนื่อย-เหนื่อยแต่ยังพอพูดคุยได้ ความถี่ในการออกอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ สำหรับการรออกกำลังกายในผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย และควรหยุดออกกำลังกายถ้ามีอาการได้แก่ เจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น หรือรู้สึกว่าใจเต้นผิดปกติ หอบเหนื่อย มืนงง จะเป็นลม อ่อนแรง รู้สึกปวด ขัด ตึง บวม บริเวณกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อต่างๆ ระหว่างหรือหลังออกกำลังกาย ควรรีบปรึกษาแพทย์

เอกสารอ้างอิง

  1. ผู้จัดการรายวัน. คนตายเตือนคนเป็น! รู้ทัน “หัวใจวาย” ขณะออกกำลังกาย. ผู้จัดการออนไลน์
    [อินเทอร์เน็ต]. 2560. เข้าถึงได้จาก:http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx
  2. Kanthad Yangsattha. ภาวะการเสียชีวิตกระหันของนักกีฬา. Stepextra
    [อินเตอร์เน็ต].2560.เข้าถึงได้จาก:https://www.stepextra.com/ภาวะการ
    เสียชีวิตกระทัน/
  3. รศ.นพ.คมกริช  ฐานิสโร. ออกกำลังกายเป็นอันตรายต่อสุขภาพ. Dr Komkrit.com มุมมองสุขภาพ.[อินเทอร์เน็ต]. 2011. เข้าถึงได้จาก: http://www.drkomgrit.com/article.aspx?id=37

 

©2017 PharmRoo.com | Powered by WordPress | Developed by chaivoot