ยารักษาโรค การใช้ยา และ ผลข้างเคียง

Ergotamine ยาแก้ปวดไมเกรน

ยารักษาอาการปวดไมเกรนแบบเฉียบพลันด้วยยา Ergotamine

Ergotamine เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษาอาการปวดไมเกรน ออกฤทธิ์ในการรักษาอาการปวดศีรษะ แบบจำเพาะเจาะจง ต่อการหดตัวของหลอดเลือดแดงในสมอง ด้วย

ขนาดการับประทาน ยา Ergotamine

แนะนำให้ รับประทานเมื่อมีอาการปวดศีรษะไมเกรน โดย วิธีการรับประทานคือ

ยา ergotamine สำหรับรักษาโรคปวดไมเกรนเท่านั้น ห้ามใช้ติดต่อกันทุกวัน เพราะเพียงเข้าใจผิดว่า สามารถนำมาเพื่อป้องกันอาการปวดไมเกรน ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง ยังคงย้ำว่า ยา ergotamine นี้ ให้นำมารับประทานเมื่อ มีอาการปวดไมเกรนเท่านั้น โดยยาจะมีทั้งรูปแบบยาฉีด ยาพ่น ยาเม็ด แต่ในประเทศไทยนิยมใช้ยาเม็ดเป็นหลัก โดยยาที่นิยมรับประทานจะประกอบด้วย Ergotamine tartrate 1 mg+Caffeine 100 mg ซึ่งCaffeine จะช่วยเพิ่มอัตราและปริมาณการดูดซึมของยา

 

เมื่อรับประทานยา ergotamine เข้าไปในร่างกายแล้วจะมีการดูดซึมอย่างรวดเร็ว และเกิดระดับยาสูงสุดที่ ½- 3 ชั่วโมง ซึ่งหมายความว่า ยา ergotamine นี้ จะออกฤทธิ์ลด อาการปวดไมเกรน ได้รวดเร็ว คือ ภายใน ครึ่งชั่วโมง และ การออกฤทธิ์ของยา (Duration of action) จะอยู่ในร่างกาย 3 ชั่วโมง มี half-life 30-120 นาที และ ยาผ่านกระบวนการ first-pass metabolism หลังรับประทานยาเข้าไป และ metabolite 90% เกิด Extensively metabolized ในตับ โดย 4% ถูกขับออกทางปัสสาวะภายใน 96 ชั่วโมง ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกทางอุจาระ

ข้อดี ของ ยา ergotamine

Ergotamine เป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดได้อย่างเฉียบพลัน รวดเร็ว

ระงับอาการปวดที่จำเพาะต่อไมเกรน (migraine-specific analgesics)

ข้อเสีย ของยา ergotamine

ผู้ป่วยที่รับประทานยา ergotamine อาจมีอาการข้างเคียงดังต่อไปนี้

1. ปฏิกิริยากับยาอื่นๆ (drug interaction) โดยยา ergotamine ถูกทำลายโดยใช้เอนไซม์ที่มีชื่อว่า CYP 3A4 ทำให้ปริมาณยา ergotamine ในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดบริเวณปลายมือปลายเท้า ถ้าหากเป็นรุนแรงอาจส่งผลทำให้เกิดการขาดเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณมือ แขน หรือขา ไม่เพียงพอทำให้เกิดเนื้อตายได้ และอาจจำเป็นต้องตัดแขนหรือขาทิ้ง จึงควรไปพบแพทย์ทันที ดังนั้นถ้าหากต้องมีการรับประทานยาที่อาจมีผลยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าว ต้องระมัดระวังในการรับประทาน

 

 

ยาที่มีผลยับยั้งเอนไซม์ และ ส่งผลให้ ระดับยา ergotamine ในเลือดสูงขึ้น ได้แก่

3. มีความดันโลหิตสูงขึ้นซึ่งเป็นผลจากการกระตุ้นตัวรับ α1-receptor ทำให้หลอดเลือดส่วนปลายหดตัว

4. มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนซึ่งเป็นผลจากการกระตุ้นตัวรับ D2-receptor ถ้าอาการรุนแรงสามารถแก้ไขโดยการรับประทานยาต้านอาเจียนได้คือ domperidone

5. มีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก ซึ่งเป็นผลมาจากการกระตุ้นตัวรับ 5-HT1B ที่หลอดเลือด coronary ของหัวใจ ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ (coronary artery) หดตัว ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจลดลง ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

เอกสารอ้างอิง

  1. American society of health system pharmacists.Ergotamine and Caffeine.[Internet].Maryland:[updated 2017 Jun 21; cited 2017 Jul 15].AHFS® Patient Medication Information. Available from: https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a601048.html#storage-conditions
  2. Drugs.com [Internet]. ergotamine Information from Drugs.com; Copyright 1996-2012 Cerner Multum, Inc. Version: 5.02.[Updated: 2010 April 16; Cited: 2017 Jul 15]. Available from: http://www.drugs.com/ergotamine.com
  3. rxlist.com [Internet].cafergot Information from rxlist.com; copyright 2017.[Update:2012 May 1; Cited 2017 Jul 16]. Available from http://www.rxlist.com/cafergot-drug.htm
  4. WebMD LLC.ergotamine [Internet];Copyright 1993-2017.[Update:2016 Feb 23; Cited 2017 Jul 16]. Available from http://reference.medscape.com/drug/ergomar-ergotamine-343027
    http://www.ama-assn.org/ama/pub/category/1736.html