ยา | 2019-10-20 15:07:58

แนวทางการใช้ยา Amoxicillin

LINE it!

อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) เป็นยาที่ออกฤทธิ์กว้างปานกลาง ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ โดยนำมาใช้รักษากับโรคติดเชื้อต่างๆในร่างกาย จึงไม่แปลก ที่หลายๆ คนจะรู้จักหรือหลายคนจะเคยได้ยิน ยาตัวนี้ใช้อย่างแพร่หลายทั้งในโรงพยาบาลและร้านยา แต่จะการติดเชื้อในแต่ละตำแหน่งก็มีขนาดและวิธีใช้ที่แตกต่างกัน

อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) คือ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterial)

Amoxicillin จัดเป็นยากลุ่มเพนนิซิลิน (Penicillin) แบบ Moderate-spectrum Penicillin (Amino penicillin) ครอบคลุมทั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก (Gram positive bacteria): Streptococcus spp., Enterococcus spp., Listeria monocytogenes
เชื้อแบคทีเรียแกรมลบ (Gram negative bacteria): H. influenzae, E. coli, Proteus mirabilis, Salmonella spp., Shigella spp

รูปแบบที่มีการจำหน่ายในร้านยาทั่วไป จะมี 2 รูปแบบคือ

ชนิดผงละลายน้ำ มีขนาด 125 มก. และ 250 มก. ส่วนใหญ่จะใช้ในเด็ก

ชนิดเม็ดแคปซูล แบบปลดปล่อยตัวยาทันที ขนาด 500 มก.

เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)

การดูดซึม (Absorption): ยาเม็ดที่ปลดปล่อยตัวยาทันที (Immediate release) – ดูดซึมได้รวดเร็ว ทั้งขณะท้องว่างและหลังรับประทานอาหาร

ดังนั้น จึงเป็นคำตอบที่ว่า ตัวยา อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) สามารถทานยานี้ ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เพราะอาหารไม่มีผลต่อการดูดซึมของยา

การกระจายของตัวยา (Distribution):
สามารถกระจายไปตามเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เช่นที่ ตับ ปอด ต่อมลูกหมาก กล้ามเนื้อ หูชั้นกลาง ต่อมน้ำลาย
สารคัดหลั่งที่ไซนัสแมกซิลลา (Maxillary sinus secretion) ซึ่งเป็นโพรงอากาศในกระดูกโหนกแก้ม
กระดูก ถุงน้ำดี น้ำดี เยื่อบุช่องท้อง น้ำไขข้อ มีการกระจายผ่านน้ำไขสันหลังได้ไม่ดี (ยกเว้นในกรณีที่เยื่อหุ้มสมองอักเสบ)

ยาจับกับโปรตีน (Protein binding) ได้ประมาณ 20%

ค่าครึ่งชีวิตของยา (Elimination half-life): ยาเม็ดที่ปลดปล่อยตัวยาทันที (Immediate release) – ผู้ใหญ่ เฉลี่ยอยู่ที่ 61.3 นาที

การขับยาออก: ผ่านทางปัสสาวะ (60% ขับออกในรูปเดิม)

เภสัชพลหศาสตร์ (Pharmacodynamics) 

อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ที่สัมพันธ์กันกับระยะเวลา (Time dependent killing effect) หมายถึงมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยให้ระดับของยา มีในเลือดสูงกว่า MIC ที่นานมากพอ

ข้อมูลในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

Pregnancy category: B (มีการศึกษาทดลองในสัตว์พบว่า มีความเสี่ยงน้อยมากและการศึกษาทดลองในคนไม่พบความเสี่ยง)

การให้นมบุตร (Lactation): สามารถขับออกทางน้ำนมได้ ดังนั้นต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง

จะเห็นได้ว่ายา Amoxicillin มีการกระจายของตัวยาไปได้หลายตำแหน่งในร่างกาย อีกทั้งยังครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบหลายชนิด ดังนั้นจึงมีการนำยา Amoxicillin มาใช้ในหลากหลายโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในร้านยาชุมชนที่มีโอกาสที่จะได้จ่ายยานี้ค่อนข้างสูง แต่เนื่องจากการใช้ยา Amoxicillin ในโรคติดเชื้อที่มีตำแหน่งของการติดเชื้อต่างกันหรือเชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุต่างกันนั้น ก็ส่งผลต่อขนาดของการใช้ยา วิธีการใช้ยา และระยะเวลาที่ต่างกัน

ข้อบ่งใช้และขนาดยารูปแบบรับประทานที่ใช้ในเด็ก

การติดเชื้อที่หู คอ จมูก (Ear, Nose, Throat infection) – คอหอยอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย GAS หรือ ต่อมทอนซิลอักเสบ Tonsillitis

อายุน้อยกว่า 3 เดือน
ขนาดสูงสุดไม่เกิน 30 มก./กก./วัน แบ่งให้ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 48-72 ชั่วโมง;
เป็นเวลาอย่างน้อย 10 วัน สำหรับการติดเชื้อ S.pyogenes

อายุมากกว่า 3 เดือนและน้ำหนักไม่เกิน 40 กก.
ให้ 25-45 มก./กก./วัน แบ่งให้ทุก 12 ชั่วโมง หรือ 20-40 มก./กก./วัน แบ่งให้ทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 10-14 วัน

อายุมากกว่า 3 เดือนและน้ำหนักมากกว่า 40 กก.
ติดเชื้อปานกลาง : 500 มก. ทุก 12 ชั่วโมง หรือ 250 มก. ทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 10-14 วันติดเชื้อรุนแรง : 875 มก. ทุก 12 ชั่วโมง หรือ 500 มก. ทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 10-14 วัน

หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (Otitis media infection)

ให้ 80-90 มก./กก./วัน แบ่งให้ทุก 8-12 ชั่วโมง เป็นเวลา 10-14 วัน

ข้อบ่งใช้และขนาดยารูปแบบรับประทานที่ใช้ในผู้ใหญ่

การติดเชื้อที่หู คอ จมูก (Ear, Nose, Throat infection) – คอหอยอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย GAS หรือ ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)

การติดเชื้อที่ไม่รุนแรงถึงปานกลาง (Mild to moderate)

500 มก. ทุก 12 ชั่วโมง หรือ 250 มก. ทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 10-14 วัน

การติดเชื้อที่รุนแรง (Severe)

875 มก. ทุก 12 ชั่วโมง หรือ 500 มก. ทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 10-14 วัน

ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (Rhinosinusitis, acute bacterial)

ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่รุนแรงและไม่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อดื้อยา (S. pneumoniae resistance) เช่น อายุมากกว่า 65 ปี เคยเข้ารับการพักษาที่โรงพยาบาลหรือได้รับยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียมาก่อนหน้า ภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Petal 2018)

500 มก. ทุก 8 ชั่วโมง หรือ 875 มก. ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 7-10 วัน

ติดเชื้อที่หูชั้นกลาง (Otitis media infection)

การติดเชื้อที่ไม่รุนแรงถึงปานกลาง (Mild to moderate)

ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ: 500 มก. ทุก 8 ชั่วโมงหรือ 875 มก. ทุก 12 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 5-7 วัน (Limb 2019)

การติดเชื้อที่รุนแรง (Severe)

ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ: แนะนำ Amoxicillin/clavulanate มากกว่า Amoxicillin เนื่องจากมีความกังวลถึงเชื้อ Streptococcus pneumoniae ที่มีความไวต่อยา Amoxicillin น้อยและเชื้อในหูอื่นๆ

500 มก. ทุก 8 ชั่วโมงหรือ 875 มก. ทุก 12 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 10 วัน (Limb 2019)

การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ (สำหรับเชื้อ E. coli, P. mirabilis, or E. faecalis)

ไม่แนะนำให้ใช้ประสิทธิภาพด้วยกว่าเมื่อเทียบกับยาที่ควรใช้ลำดับแรก เนื่องจากมีความชุกของการดื้อยาสูง

การติดเชื้อที่ไม่รุนแรงถึงปานกลาง (Mild to moderate)

500 มก. ทุก 12 ชั่วโมง หรือ 250 มก. ทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน

การติดเชื้อที่รุนแรง (Severe)

875 มก. ทุก 12 ชั่วโมง หรือ 500 มก. ทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลามากที่สุด 14 วัน

การติดเชื้อที่ผิวหนัง (Skin and soft tissue infection)

การติดเชื้อที่ไม่รุนแรงถึงปานกลาง (Mild to moderate)

500 มก. ทุก 12 ชั่วโมง หรือ 250 มก. ทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 7-10 วัน

การติดเชื้อที่รุนแรง (Severe)

875 มก. ทุก 12 ชั่วโมง หรือ 500 มก. ทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 14 วัน

ไฟลามทุ่ง (Erysipelas) – ไม่รุนแรง (Mild)

500 มก. ทุก 8 ชั่วโมง หรือ 875 มก. ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 วัน อาจได้ถึง 14 วัน หากผู้ป่วยมีการตอบต่อยาสนองช้า มีอาการรุนแรง หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง

การติดเชื้อ Helicobacter Pylori ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (Helicobacter Pylori eradication)

สูตร Triple therapy – เป็นเวลา 14 วัน

  1. Amoxicillin 1 กรัม ทุก 12 ชั่วโมง และ
  2. Clarithromycin 500 มก. ทุก 12 ชั่วโมง ร่วมกับ
  3. Omeprazole 20 มก. หรือ 40 มก. ทุก 12 ชั่วโมง

สูตร Concomitant – เป็นเวลา 10-14 วัน

  1. Amoxicillin 1 กรัม ทุก 12 ชั่วโมง และ
  2. Clarithromycin 500 มก. ทุก 12 ชั่วโมง และ
  3. Metronidazole หรือ Tinidazole 500 ร่วมกับ
  4. Omeprazole 20 มก. หรือ 40 มก. ทุก 12 ชั่วโมง

สูตร Levofloxacin triple therapy – เป็นเวลา 10-14 วัน

  1. Amoxicillin 1 กรัม ทุก 12 ชั่วโมง และ
  2. Levofloxacin 500 มก. วันละครั้ง ร่วมกับ
  3. Omeprazole 20 มก. หรือ 40 มก. ทุก 12 ชั่วโมง

สูตร High dose dual therapy (ในผู้ที่ดื้อต่อยาหรือไม่สามารถใช้ยา Clarithromycin ได้) – เป็นเวลา 14 วัน

  1. Amoxicillin 1 กรัม ทุก 8 ชั่วโมง หรือ Amoxicillin 750 มก. ทุก 6 ชั่วโมง ร่วมกับ
  2. Omeprazole 20 มก. หรือ 40 มก. ทุก 6-8 ชั่วโมง

เอกสารอ้างอิง (References):

1.Medscape. amoxicillin (Rx) [Internet]. [cited 2019 Aug 16]. Available from: https://reference.medscape.com/drug/amoxil-amoxicillin-342473

2.Lexi-Comp, Inc. (Lexi-Drugs®). Lexi-Comp, Inc.; August 15, 2019.

3.UpToDate, Inc. (UpToDate®). UpToDate, Inc.; August 15, 2019.

©2017 PharmRoo.com | Powered by WordPress | Developed by chaivoot