อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเป็นปัญหาหลายคนกำลังเผชิญในปัจจุบันเนื่องจากคนในปัจจุบันมีการทำงานหนักมากขึ้นจึงส่งผลให้กล้ามเนื้อมีการทำงานหนักมากเกินไป จึงทำให้เกิดความความเมื่อยล้าหรือหดเกร็งของกล้ามเนื้อเฉพาะตำแน่ง ซึ่งอาการส่วนใหญ่จะมีอาการปวดๆ เมื่อยๆ จึงทำให้หลายคนมีความจำเป็นต้องใช้ยาบรรเทาอาการปวดหรือยาคลายกล้ามเนื้อมากยิ่งขึ้นโดยยาที่พบว่าใช้ในการบรรเทาอาการปวด เช่น paracetamol, ยาต้านอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS), ยาคลายกล้ามเนื้อ (muscle relaxant: toperisone, orphenadrine เป็นต้น) และก็มีหลายคนที่ไม่อยากใช้ยาแต่อยากใช้สมุนไพรแทน และยังมีความคิดว่ากินสมุนไพรดีกว่ากินยา คิดว่าไม่มีพิษ ซึ่งแนวคิดแบบนี้ ถูกต้อง หรือไม่? และ สมุนไพร ที่ถูกนำมาใช้ บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อนั้น มีหลากหลายชนิด และ หนึ่งในนั้นคือ เถาวัลย์เปรียง
เถาวัลย์เปรียง (Derris scandens) จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว (Fabaceae) ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีการเรียกชื่อที่แตกต่างกันไป เช่น สานไสน เครือเขาหนัง เถาวัลย์เปรียงขาว เถาตาปลา เป็นต้น
ลักษณะทั่วไปของเถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เลื้อยขนาดใหญ่ มีกิ่งเหนียวทนทาน เถามักเรื้อยตามต้นไม้ใหญ่ๆ ส่วนใบจะเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับกัน ยอดอ่อนนุ่มมีขน ช่อดอกออกที่ซอกใบและกลีบดอกมีสีขาว ผลเป็นฝัก
ตามแบบโบราณ
เถา: แก้เมื่อย แก้เส้นตึง แก้ปวด ลดไข้ ขับปัสสาวะ และแก้เคล็ดคัดยอก เป็นต้น ราก: แก้เคล็ดคัดยอก และแก้อาการเหน็บชา เป็นต้น
ตามแบบบัญชียาหลักแห่งชาติ
ได้ประกาศว่า การใช้เถาวัลย์เปรียงในตำรับ “ยาผสมเถาวัลย์เปรียง” มีส่วนประกอบของเถาวัลย์เปรียงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวด อาการปวดจากข้อเข่าเสื่อม
สารกลุ่ม isoflavones, isoflavone glycosides, sterols และ coumarins
สารสกัดเถาวัลย์เปรียง มีองค์ประกอบหลักคือสารในกลุ่ม isoflavone โดยสารในกลุ่ม isoflavone จะออกฤทธิ์ต้านอักเสบโดยการยับยั่งเอนไซต์ cyclooxygenase-1 (cox-1) ซึ่งออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยากลุ่ม NSAIDS แต่ไม่สามารถยับยั้งเอนไซต์ cyclooxygenase-2 (cox-2) ได้
นอกจากนี้สารในกลุ่ม isoflavone ยังสามารถยับยั้งการสังเคราะห์สารอิโคซานอยด์ (eicosanoid) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบ เช่น leukotriene B4 รวมทั้งยับยั้งการหลั่งเอนไซม์จาก myeloperoxidase (MPO) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบในแกรนูลซึ่งอยู่ภายในเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล (neutrophil) ในระหว่างที่มีการอักเสบ MPO จะเคลื่อนที่ออกมา
สารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีการเมทาบอลิซึม (metabolism) ผ่านตับ โดยมีคุณสมบัติเป็น CYP 2E1 ดังนั้นจึงต้องมีความระมัดระวังในการใช้ร่วมกับที่มีคุณสมบัติเป็น CYP2E1 เช่น ethanol, paracetamol เป็นต้น
แสดงว่า การกินสมุนไพรเถาวัลย์เปรียง ร่วมกันกับ ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น paracetamol ก็อาจจะทำให้ ตับทำงานหนักเพิ่มขึ้นได้ หรือ ถ้าคนไข้ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ถ้ารับประทานยาสมุนไพร แก้ปวด ที่มีส่วนประกอบของ เถาวัลย์เปรียง ก็ส่งผลทำให้ ตับอาจเป็นพิษได้ง่ายขึ้น เช่นกัน
บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม ถึง 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันที
บรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง (low back pain) และอาการปวดจากข้อเข่าเสื่อม (Knee osteoarthritis) รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารทันที
อาการปวดท้อง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย คอแห้ง ใจสั่น และ อาจทำให้เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อุจจาระเหลว
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์