ก่อนที่จะรู้ว่า วัคซีนพิษสุนัขบ้า ฉีดอย่างไร ก็ต้องรู้จักก่อนว่า เราได้รับเชื้อจากการที่โดน สุนัขกัด และร่างกายได้รับ เชื้อโรค ทำให้เป็นโรคที่เรารู้จักกันได้ว่า โรคพิษสุนัขบ้า
คือโรคที่ติดเชื้อจาก Rabies virus พบได้ในสัตว์เลือดอุ่นเลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว ลิง กระรอก กระแต หนู ค้างคาว รวมถึงมนุษย์ด้วย สำหรับประเทศไทยพบเชื้อนี้มากที่สุดคือในสุนัข
อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อ Rabies virus นี้อาจเกิดขึ้นได้เร็ว ( ภายใน 5 วัน ) ซึ่งการติดเชื้อพิษสุนัขบ้าทำให้เสียชีวิตได้
อาการทางผิวหนัง(บริเวณแผลที่ถูกกัด) คัน แสบ ร้อน สามารถลุกลามกลายเป็นผิวหนังอักเสบ มีหนองได้
อาการทางสมอง เบื้องต้น มีไข้ต่ำๆ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย และ อาการรุนแรงขึ้นจะแสดงอาการคลุ้มคลั่ง อาละวาด ตื่นเต้นกระวนกระวายต่อสิ่งเร้าเช่น แสง เสียง อาการกลัวน้ำ กลัวลม น้ำลายออกมามากกว่าปกติ ไม่อยากกลืนน้ำลายตัวเอง ซึ่งอาการที่แสดงออกมานี้เรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ โรคกลัวน้ำ
วัคซีนพิษสุนัขบ้า คือวัคซีนที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเชื้อ Rabies virus โดยจะนำเชื้อที่ตายแล้ว มาใช้เป็นวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน
การฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า มี 2 แบบ คือ การฉีดป้องกันก่อนถูกกัด และ ฉีดหลังจากถูกกัด
รูปแบบการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า ทั้งแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ( Intramuscular : IM ) และฉีดเข้าใต้หนัง ( Intradermal : ID )
จะฉีดทั้งหมด 3 เข็ม โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (IM) หรือ ฉีดเข้าในหนัง (ID)
เข็มวันที่ 0 (วันแรก) , วันที่ 7 และ วันที่ 21 หรือ 28
****(ถ้าหากมาไม่ตรงนัดวันที่ 21 สามารถมาวันที่ 28 ได้)****
แนะนำให้ฉีดในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อพิษสุนัขบ้า เช่น สัตวแพทย์ ผู้ที่ต้องทำงานให้ห้องปฏิบัติการต่างๆ หรือผู้ที่ต้องเดินทางไปในพื้นที่ที่มีความชุกของโรคพิษสุนัขบ้า
ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าเข้าที่กล้ามเนื้อต้นแขน (IM) จำนวน 5 เข็ม
เข็มวันที่ 0 (วันแรก) , วันที่ 3 , วันที่ 7 , วันที่ 14 ,วันที่ 28
ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าเข้าในหนัง(ID) จำนวน 4 เข็ม
เข็มวันที่ 0 (วันแรก) , วันที่ 3 , วันที่ 7 และวันที่ 30
ฉีดเข้าที่ต้นแขน ทั้ง 2 ข้าง ข้างละ 1 เข็ม
การฉีดวัคซีนนั้นอาจคลาดเคลื่อนได้ 2-3 วัน จะสามารถฉีดต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องเริ่มฉีดวัคซีนใหม่ แต่การฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้านั้นมี หลักการคือ ถ้าได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นอยู่ในช่วง 14 วันแรก สามารถกระตุ้นภูมิต้านทาน ให้ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ดีที่สุด ถ้าเป็นไปได้ ควรมาฉีดให้เร็ว หลังจากที่โดนสัตว์กัด และ ควรมาให้ตรงตามนัด ที่ได้กำหนดไว้
แต่ถ้าเคยฉีดวัคซีนมาก่อนแล้วถูกสัตว์กัด หรือเคยได้รับวัคซีนมาก่อนอย่างน้อย 3 เข็ม การได้รับวัคซีนจะแบ่งตามระยะเวลาหลังจากได้รับวัคซีนวันสุดท้ายจนถึงวันที่ถูกสัตว์กัด แบ่งออกเป็นดังนี้
ถูกสัตว์กัดภายใน 6 เดือน : ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 เข็มในวันแรก หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 1 เข็ม จำนวน 1 จุด ในวันแรก
ถูกสัตว์กัดหลังจาก 6 เดือนขึ้นไป : ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 2 เข็ม ในวันแรก และวันที่ 3 หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 2 เข็ม ครั้งละ 1 จุด ในวันแรกและในวันที่ 3
อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) คือภูมิคุ้มกันป้องกัน โดยอิมมูโนโกลบูลินสามารถทำลายเชื้อไวรัสบริเวณแผลที่ถูกสัตว์กัดได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังฉีด ซึ่งการฉีดจะให้ฉีดโดยเร็วที่สุดและฉีดครั้งแรกเพียงครั้งเดียว บริเวณที่ฉีดคือในและรอบบาดแผล
ปัจจุบันอิมมูโนโกลบูลินมี 2 ชนิดแตกต่างกันตามการผลิต คือ
1.กรมควบคุมโรค สำนักโรคติดต่อทั่วไป. แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้าและคำถามที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์กราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.
2.คลินิคป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า.แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า สถานเสาวภา สภากาชาดไทยและคำถามที่พบบ่อย.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เพนตากอน แอ็ดเวอร์ไทซิ่ง;2561[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก:http://www.lpnh.go.th