คนเราเมื่อท้องเสียจะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ แล้วทำไมเมื่อเกิดภาวะขาดน้ำแล้วถึงมีไข้ล่ะ?
ภาวะขาดน้ำ Dehydration เกิดเมื่อร่างกายของเรามีน้ำไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ทำให้ความสมดุลของของเหลวในร่างกายผิดปกติไป โดยภาวะการขาดน้ำเกิดจากได้หลายสาเหตุเช่น การดื่มน้ำน้อย ,อาเจียน,เสียเลือด ,เสียเหงื่อมากผิดปกติ ,ปัสสาวะมากผิดปกติ และที่พบได้บ่อยเกิดจากอาการท้องเสีย ซึ่งพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
อาการขาดน้ำ
- อาการขาดน้ำที่รุนแรงน้อยถึงปานกลาง ได้แก่ ผิวแห้ง ,ริมฝีปาก ,ช่องปากแห้ง ,อ่อนเพลีย ,เหนื่อยง่าย ,ปัสสาวะน้อย,มึนหัว เวียนศีรษะ
- อาการจากขาดน้ำรุนแรง ได้แก่ กระหายน้ำรุนแรง ,สับสน กระสับกระส่าย ซึม ,ผิวหนังแห้งมาก ,ปากแห้งมาก ,ตาลึกโหล ,ไม่มีเหงื่อ ปัสสาวะน้อยมาก สีเหลืองเข็มมาก,กระหม่อมจะบุ๋มลึก,มีไข้ มักเป็นไข้ต่ำ แต่บางคนไข้สูง, ความดันโลหิตต่ำ

น้ำ ( total body fluid ) เป็นส่วนประกอบ 2 ใน 3 ของร่างกาย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ โดยมีเยื่อกั้นบางๆ (membrane) เป็นตัวแยก
- น้ำภายในเซลล์ ( intracellular fluid ; ICF )
- ส่วนที่สอง คือ น้ำภายนอกเซลล์ ( extracellular fluid ; ECF )
- น้ำภายในหลอดเลือด ( intravascular fluid หรือ plasma )
- น้ำระหว่างเซลล์ ( interstitial fluid ) ซึ่งเป็นน้ำส่วนที่อยู่นอกหลอดเลือด และอยู่ตามช่องว่างระหว่างเซลล์ รวมทั้งน้ำที่อยู่ภายในอวัยวะต่างๆ เช่น น้ำในลูกตา น้ำย่อยอาหาร และน้ำไขสันหลัง ( CSF )ซึ่งน้ำภายนอกเซลล์นี้สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น

หน้าที่ของน้ำภายในร่างกาย (Function of body Fluid)
- ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
- ช่วยในการดูดซึมและแพร่กระจายของสารต่างๆ
- เป็นตัวกลางในการนำสารต่างๆ ไปยังระบบที่เหมาะสม
- ใช้ในปฏิกิริยาเคมีที่สำคัญในร่างกาย เช่น การสลาย ATP (adenosine triphosphate ) เพื่อให้ได้พลังงาน
- ควบคุมการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของส่วนนั้นๆ

แล้วทำไมเวลาท้องเสียถึงมีไข้ล่ะ?
จากที่กล่าวมาข้างต้น น้ำเป็นส่วนประกอบหลักของร่างกายซึ่งมีมากถึง 60% ของน้ำหนักตัวและมีหน้าที่ที่สำคัญคือช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และท้องเสียเป็นภาวะหนึ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดการขาดน้ำ โดยเมื่อมีสารพิษเข้าสู่ลำไส้ เชื้อโรคและสารพิษก็จะไปกระตุ้นให้มีการหลั่ง cAMP และ Ca2+ เพิ่มมากขึ้น เมื่อทั้ง cAMP และ Ca2+ เพิ่มมากขึ้นก็จะไปกระตุ้นให้ CFTR และ CaCC ซึ่งเป็น transmembrane มากขึ้น ทำให้มีการไหลออกของ Cl– ออกจากเซลล์ของลำไส้เล็กเข้าสู่ช่องว่างภายในลำไส้เล็ก เมื่อ Cl– ออกมากขึ้น Na+ ก็ออกมากขึ้น ทำให้น้ำออกตาม Na+ ไปด้วยจึงเกิดเป็นท้องเสีย

เมื่อเกิดภาวะขาดน้ำจากการท้องเสียแล้วเป็นไข้ได้ เพราะร่างกายจะตอบสนองต่อ endotoxin ในภาวะขาดน้ำโดยจะเพิ่มการผลิต endogenous pyrogens ทำให้ leukocytes จากระบบไหลเวียนโลหิตไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ นอกจากนี้ภายใต้ภาวะขาดน้ำ endogenous pyrogens จะถูกผลิตขึ้นมามากขึ้นโดย macrophage จำนวนมากที่อยู่ในเนื้อเยื่อ เป็น leukocytes หลายชนิดแล้วส่งสัญญาณไปที่ระบบภูมิคุ้มกัน
การเป็นไข้ของร่างกายเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อ toxic ซึ่งเรียกว่า exogenous pyrogens ซึ่ง exogenous pyrogens ทำให้เกิดไข้ได้โดยการเหนี่ยวนำเซลล์เม็ดเลือดขาว(white blood cells ) ทำให้มีการสังเคราะห์และหลั่ง mediator proteins ออกมา ซึ่งเรียกว่า endogenous pyrogens ทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้น เมื่ออุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นก็จะส่งสัญญาณไปที่ central thermoreceptors ที่ Hypothalamus Hypothalamus จะสั่งการให้ร่างกายปรับตัวเพื่อให้อุณหภูมิของร่างกายกลับมาเป็นปกติ เช่น ให้หลอดเลือดคลายตัว, กระหายน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกาย,เหงื่อออก เพื่อเป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกาย

เอกสารอ้างอิง
- AKIO MORIMOTO et al. Dehydration enhances endotoxin fever by increased production of endogenous pyrogen . [Internet]. 1986. [cited 2017 July 19];R41. Available from: http://ajpregu.physiology.org
- Lennox H Huang. Dehydration.[Internet]. Nov 27, 2016[cited 2017 July 19]. Available from:http://emedicine.medscape.com/article/906999-overview#a5
- Twisha S Patel et al. Mechanisms involved in the development of secretory diarrhea. [Internet]. Jul 2013 [cited 2017 July 19].Available from: https://www.researchgate.net/figure/ 252325429_fig2_Mechanisms-involved-in-the-development-of-secretory-diarrheaNotes-The-CFTR-and-CaCC
- มหาวิทยาลัยมหิดล.ดุลย์น้ำ (water balance). [ออนไลน์].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2560] เข้าถึงได้จาก : http://www.mt.mahidol.ac.th/elearning/bodyfluid%20and%20electroly te/water.htm#2._การกระจายของน้ำในร่างกาย_
- สรชัย ศรีสุมะ.สรีรวิทยาของการควบคุมอุณหภูมิกาย (Thermoregulatory Physiology) ). [ออนไลน์].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2560] เข้าถึงได้จาก : http://www.ps.si.mahidol.ac.th/courseware/ storeresources/51SS_TempPhysiol%20[Compatibility%20Mode].pdf