ยาคุมกำเนิด เป็นหนึ่งในทางเลือกสำหรับการป้องกันการตั้งครรภ์ ที่มีเปอร์เซ็นต์ความล้มเหลวในการป้องกันการตั้งครรภ์ต่ำมากหากรับประทานยาอย่างถูกวิธี โดยในยาคุมกำเนิดนั้น มีฮอร์โมน 2 ชนิดที่ช่วยในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ คือ Estrogen และ Progesterone
Estrogen มีฤทธิ์ในการยับยั้งการตกไข่ ยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อน และเร่งการเคลื่อนที่ของไข่ ในส่วนของ Progesterone นั้น สามารถยับยั้งการตกไข่และยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อนได้เช่นเดียวกัน อีกทั้งยังทำให้มูกบริเวณปากมดลูกมีความเหนียวมากขึ้น เชื้ออสุจิจึงเดินทางผ่านได้ยาก และยับยั้งไม่ให้อสุจิเจาะเข้าไปในไข่ นอกจากนี้ ฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิด ยังสามารถกดการหลั่งฮอร์โมนจากสมอง ทำให้ไม่เกิดการตกไข่
เนื่องจากในยาคุมกำเนิดประกอบด้วย Estrogen และ Progesterone ในปริมาณที่ต่างกัน ทำให้เกิดอาการข้างเคียงแตกต่างกันได้ สามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อเลือกยาคุมกำเนิดที่เหมาะสมได้
ยาคุมกำเนิดประกอบไปด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด คือ estrogen และ progesterone ซึ่งฮอร์โมนคู่นี้มีผลในการควบคุมการทำงานของประจำเดือน ในร่างกาย
ฮอร์โมนที่หลั่งจากสมองที่ใช้ควบคุมประจําเดือน ได้แก่
ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) จะหลั่งฮอร์โมนที่เรียกวา GnRH (Gonotropin Releasing Hormone)
ต่อมใต้สมองส่วนหน้าที่เรียกว่า Anterior Pituitary Gland จะหลั่งฮอรโมนที่มีผลต่อเซลล์สืบพันธุ์จะเรียกรวมๆวา Gonadotropin ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมน 2 ชนิดคือ
1) ฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นให้ไข่เจริญเติบโตที่เรียกว่า FSH (Foliicular Stimulating Hormone)
2) ฮอร์โมนที่ช่วยในเรื่องการตกไข่และการเจริญเติบโตของ Corpus Luteum ซึ่งเกิดในช่วงหลังไข่ตกที่เรียกว่า LH (Luteinizing Hormone)
โดย hypothalamus หลั่ง GnRH ไปกระตุ้น Anterior Pituitary Gland ให้หลั่ง FSH ซึ่งมีผลต่อการเจริญของไข่ นอกจากนี้ยังมีผลในการเพิ่ม estrogen และ LH ซึ่งมีผลต่อการตกไข่ นอกจากนี้ยังมีผลในการเพิ่ม progesterone
ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen Hormones)
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone Hormones)
LH surge (LH surge ส่งผลให้ผนังถุงไข่เกิดการปริออก ทำให้เกิดการตกไข่ ผนังถุงไข่กลายเป็น corpus luteum)
progestin ยับยั้ง LH surge ทำให้ไม่เกิดการตกไข่
Negative feedback
ทั้ง Estrogen และ Progestin ออกฤทธิ์ในการกดการสร้าง gonadotropin ของ pituitary gland ทำให้ Ovarian follicle ไม่พัฒนา กดการสร้าง FSH และ LH ทำให้ไม่มี midcycle LH surge จึงไม่มีการตกไข่ และไม่เกิด corpus luteum ไม่มีการสร้าง Progesterone
คู่มือสื่อการสอนวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บทบาทของฮอร์โมนในการควบคุมระบบสืบพันธุ์, Available at : http://www.phukhieo.ac.th/obec-media/2555/manual/