สมุนไพร | 2017-07-11 12:25:10

กานพลู แก้ปวดฟันแบบธรรมชาติ

LINE it!

อาการปวดฟัน อาการที่พบได้บ่อยซึ่งหลายๆคนยังไม่ทราบว่าตั้งแต่โบราณเราได้มีการนำสมุนไพรมาใช้บรรเทาอาการปวดฟัน ซึ่งสมุนไพรที่นำมาใช้ คือ “กานพลู”  วันนี้เราจึงมาทำความรู้จักกับสมุนไพรชนิดนี้กัน

กานพลู

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Syzygium aromaticum

ชื่อวงศ์ :Myrtaceae

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

ปลือกต้นกานพลูมีลักษระเรียบ มีสีน้ำตาลอ่อน ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง มีสีแดงกระจาย เชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ปลายแยกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ 4 กลีบ กลีบดอกสีขาว ความยาวประมาณ 1 ถึง 2.5 เซนตืเมตร มีสีน้ำตาลแดงถึงดำ ส่วนของก้านดอกมีลักษณะแข็ง ทรงกลม มีกลีบเลี้ยงอยู่ 4 ด้านมีลักษณะเป็นสามเลี่ยม(1) ผลสดรูปไข่กลับแกมรูปรี สีแดงเข้ม

ฤทธิ์ทางเภสัชศาสตร์

1.ฤทธิ์ในการระงับปวดและต้านการอักเสบ

มีการศึกษาว่าภายในดอกกานพลูมีสารสำคัญ คือ eugenol โดยมีกลไกในการยับยั้ง การส่งสัญญาณกระแสประสาทโดยเข้าไปยับยั้งเซลล์ที่มีชื่อว่า voltage-gated sodium potassium channel ที่บริเวณเซลล์ประสาทที่มีชื่อว่า trigerminal ganglion จึงทำให้การส่งสัญญานของเซลล์ประสาทไม่ถูกส่งไปที่สมอง จึงทำให้รู้สึกชา(2, 3) และนอกจากนี้พบว่าสามารถต้านการอักเสบ โดนไปลดการสร้าง สารก่ออักเสบและฤทธิ์ในการป้องกันการเสื่อมของเซลล์ประสาทได้ (2, 4, 5)

2.ฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

มีการศึกษาพบว่าสารสกัดจากกานพลูพบว่ามีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ เชื้อ Escherichia coli (E. coli), Staphylococcus aureus และ Bacillus cereus  และนอกจากนี้พบว่าสารสกัดจากกานพลูสามารถต้านเชื้อรา ที่เป็นสาเหตุของการตกขาวได้เช่นกัน (6, 7)

3.ฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง

มีการศึกษาในหนูที่ถูกเหนี่ยวให้เกิดมะเร็งและในหลอดทดลอง ของสารสกัด eugenol จากกานพลู พบว่าสามารถลดขนาดของเซลล์ลงได้ โดยกลไกของสาร eugenol จะเข้าไปรบกวนระบบการแบ่งเซลล์ของมะเร็งจึงทำให้เซลล์มะเร็งมีขนาดเล็กลง(8, 9)

4.ฤทธิ์เพิ่มในการเคลื่อนตัวของลำไส้

การศึกษาสารสำคัญ eugenol มีผลต่อในการยับยั้งเอนไซต์ Acetylcholinesterase ในหนูซึ่งเอนไซต์ดังกล่าวมีบทบาทสำคัญในการทำลายสารสื่อประสาทที่มีชื่อ Acetylcholine จึงทำให้ปริมาณ Acetylcholine สูงขึ้นซึ่งสารสื่อประสาทดังกล่าวมีฤทธิ์ในการเพิ่มการบีบตัวของลำไส้(10, 11)

ที่มา:https://www.satujam.com/obat-wasir/

5.ฤทธิ์ในป้องกันการเกิดโรคกระเพาะ

มีการนำสารสกัด eugenol จากดอกกานพลูมาทดสอบฤทธิ์ในการเกิดโรคกระเพาะในหนูพบว่าสารสกัด eugenol สามารถป้องกันการเกิดโรคกระเพาะได้แต่กลไกในการป้องกันยังไม่ทราบแน่ชัด(11, 12)

สรรพคุณที่มีผลต่อร่างกาย

ฤทธิ์เป็นยาชา แก้ปวดฟัน และขับลม บรรเทาอาการท้องอืด(13)

ส่วนที่นำมาใช้ 

ที่มา:http://www.dd-productbkk.com/product-detail.php?gid=1-001-004&id=145

ดอกกานพลู  

1.บรรเทาอาการ ท้องอืด ขับลม(13)

สำหรับผู้ใหญ่ นำดอกตากแห้งมาทุบหรือใช้ดอกสดมาทุบให้ช้ำ โดยใช้ 4-ถึง 6 ดอก ไปชงกับน้ำต้มเดือด

สำหรัเด็กใช้ดอกแห้ง 1ดอก นำไปชงในน้ำเดือด ประมาณ 500 มิลลิลิตร หรือประมาณครึ่งขวดน้ำขนาดบรรจุ 1 ลิตร

2.แก้ปวดฟัน(13)

นำดอกตูมประมาณ 1-ถึง 2 ดอก มาเคี้ยวจากนั้นอมไว้บริเวณที่ปวดฟัน

ใช้ดอกตูมตำพอแหลกนพไปผสมเหล้าขาวเล็กน้อยพอให้แฉะจากนั้นจิ้มนำผงมาอุดบริเวณที่ปวดฟัน

ความเป็นพิษของสมุนไพร :ไม่มีรายงานการศึกษาถึงผลความเป็นพิษ

เอกสารอ้างอิง

  1.      Cortés-Rojas DF, de Souza CRF, Oliveira WP. Clove (Syzygium aromaticum): a precious spice. Asian Pacific Journal of Tropical Biomedicine. 2014;4(2):90-6.
  2.      Cho JS, Kim TH, Lim J-M, Song J-H. Effects of eugenol on Na+ currents in rat dorsal root ganglion neurons. Brain Research. 2008;1243:53-62.
  3.      Li HY, Lee BK, Kim JS, Jung SJ, Oh SB. Eugenol Inhibits ATP-induced P2X Currents in Trigeminal Ganglion Neurons. The Korean Journal of Physiology & Pharmacology : Official Journal of the Korean Physiological Society and the Korean Society of Pharmacology. 2008;12(6):315-21.
  4.      Kim H, Park B-S, Lee K-G, Choi CY, Jang SS, Kim Y-H, et al. Effects of Naturally Occurring Compounds on Fibril Formation and Oxidative Stress of β-Amyloid. J Agric Food Chem. 2005.
  5.      Kabuto H, Tada M, Kohno M. Eugenol [2-Methoxy-4-(2-propenyl)phenol] Prevents 6-Hydroxydopamine-Induced Dopamine Depression and Lipid Peroxidation Inductivity in Mouse Striatum. Biological and Pharmaceutical Bulletin. 2007;30:423-7.
  6.      Chami F, Chami N, Bennis S, Trouillas J, Remmal A. Evaluation of carvacrol and eugenol as prophylaxis and treatment of vaginal candidiasis in an immunosuppressed rat model. Journal of Antimicrobial Chemotherapy. 2004;54(5):909-14.
  7.      PK S, R P, VK V, AK S. Evaluation of antibacterial activity of Indian spices against common foodborne pathogens. Int J Food Sci Technol. 2007.
  8.      Ghosh R, Nadiminty N, Fitzpatrick JE, Alworth WL, Slaga TJ, Kumar AP. Eugenol Causes Melanoma Growth Suppression through Inhibition of E2F1 Transcriptional Activity. The Journal of Biological Chemistry. 2004.
  9.      Nam H, Kim M-M. Eugenol with antioxidant activity inhibits MMP-9 related to metastasis in human fibrosarcoma cells. Food and Chemical Toxicology. 2013;55:106-12.
  10.    Dalai MK, Bhadra S, Chaudhary SK, Bandyopadhyay A, Mukherjee PK. Anti-cholinesterase activity of the standardized extract of Syzygium aromaticum L. Pharmacognosy Magazine. 2014;10(Suppl 2):S276-S82.
  11.    Santin JR, Lemos M, Klein-Júnior LC, Machado ID, Costa P, de Oliveira AP, et al. Gastroprotective activity of essential oil of the Syzygium aromaticum and its major component eugenol in different animal models. Naunyn-Schmiedeberg’s Archives of Pharmacology. 2011;383(2):149-58.
  12.    Rozza AL, Pellizzon CH. Essential oils from medicinal and aromatic plants: a review of the gastroprotective and ulcer-healing activities. Fundamental & Clinical Pharmacology. 2013;27(1):51-63.
  13.    วามานนท์ มาโนช. ยาสมุนไพร สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน.2537.

 

©2017 PharmRoo.com | Powered by WordPress | Developed by chaivoot