ความเครียดเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อเฮลิโคแบ็กเตอร์ ไพโลไร หรือเอช.ไพโลไร ที่เข้าสู่ร่างกาย ทางอาหาร น้ำดื่ม หรือการจูบ ทำให้เกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้เยื่อเมือกซึ่งปกป้องระบบทางเดินอาหารอ่อนแอลง ทำให้กรดจึงกัดกร่อนเนื้อเยื่อบริเวณที่อ่อนแอจึงส่งผลทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร นอก จากการใช้ยาแผนปัจจุบันและตำรับยาพื้นบ้านแล้ว วิธีรักษาแผลในกระเพาะอาหารยังทำได้ไม่ยาก
1.กินโอเมกา-3
แผลในกระเพาะอาหารอาจเกิดจากภาวะขาดกรดลิโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมกา-3 ชนิดหนึ่ง ซึ่งพบในปลากระป๋อง น้ำมันปลาชนิดแคปซูล และน้ำมันแฟลกซ์ หากกินเมล็ดแฟลกซ์จะช่วยกระตุ้นการสร้างเมือกในกระเพาะอาหาร ซึ่งการป้องกันอันตรายจากกรดคือ สามารถเคี้ยวเมล็ดแฟลกช์แล้วกลืน ส่วนอาหารอื่นๆ ที่มีกรดลิโนเลอิก คือ เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน เมล็ดงา และวอลนัต
2.ฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำขิง
ทั้งขิงผงและขิงสดสามารถฆ่าแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหาร เพียงนำขิงผงหรือขิงสดสับละเอียด 1 ช้อนชา ใส่ในน้ำเดือด 1 ถ้วยตวง ปิดฝาแล้วพักไว้สักครู่ กรองกากออกแล้วดื่มน้ำขิงวันละ 3 เวลา
3.น้ำว่านหางจระเข้
วุ้นจากใบว่านหางจระเข้ นอกจากใช้รักษาบาดแผลสดและแผลไหม้ได้ดีแล้ว พบว่าการดื่มน้ำว่านหางจระเข้ช่วยลดการอักเสบ และช่วยทำให้แผลในกระเพาะอาหารหายเร็วขึ้น ควรซื้อน้ำว่านหางจระเข้ 100% จากร้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยอ่านฉลากให้ละเอียดก่อน เลือกที่มีส่วนประกอบเพียงชนิดเดียว และต้องไม่ควรมีส่วนผสมของอะโลอินซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบายอย่างแรง
4.สารฟลาโวนอยด์
กินแครนเบอร์รีหรือเชอร์รี่แห้งซึ่งมีสารฟลาโวนอยด์ที่ปกป้องเซลล์ไม่ให้ถูกทำลาย วันละ 2-3 ครั้ง ซึ่งฟลาโวนอยด์หลายชนิดมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากในแอปเปิ้งแล้วยังมีใน หอมหัวใหญ่และกระเทียม ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะธรรมชาติ และอาจฆ่าเชื้อเอช.ไพโลไร
5.ดื่มชาคาโมไมล์
ชาชนิดนี้มีฤทธิ์ผ่อนคลายความเครียดซึ่งกระตุ้นให้แผลลุกลาม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบและยับยั้งการเติบโตของเอช.ไพโลไร วิธีเตรียมชาคือ นำชาคาโมไมล์แช่ในน้ำเดือด 1 ถ้วยแล้วปิดฝา ทิ้งไว้สักครู่ดื่มวันละ 3 ถ้วย เพียงแค่นี้ก็จะช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้แล้ว