จากภาวะโลกร้อนยิ่งส่งผลทำให้อากาศร้อนจัดขึ้นทุกปี โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งเป็นเมืองร้อนกลับยิ่งทวีความร้อนเพิ่มขึ้น แถมบางประเทศยังส่งผลทำให้ผู้คนเกิดการเจ็บป่วยได้หลายโรค แม้แต่บ้านเราเองที่แดดแสนจะแรง ก็ยังมีโรคที่พบได้ในช่วงหน้าร้อนคือ “โรคลมแดด” ซึ่งทางแพทย์เรียกว่า “ฮีทสโตรค” (Heat Stroke) ไม่น่าเชื่อว่าที่ผ่านมาจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดดกว่า 40% เพราะอากาศร้อนและไม่ถ่ายเท และเมื่อความร้อนในร่างกายเพิ่มขึ้น จะมีขบวนการกำจัดความร้อนออกจากร่างกายแต่หากต่อมนี้เสีย จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้น
อาการของโรคที่พบบ่อยคือ ตัวร้อน มีเหงื่อออกขณะทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย มีอาการเพ้อ และมีความดันเลือดลดลง การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว ชักเกร็ง หมดสติกระสับกระส่าย ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำไปเลี้ยงร่างกายได้ทันจนไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ มาดู 5 วิธีหลังจากที่มีคนเกิดอาการโรคลมแดดกันดีกว่า
1.การช่วยเหลือเบื้องต้น
นำผู้ที่มีอาการเข้าในร่ม นอนราบและยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด จากนั้นปลดกระดุมเสื้อ หรือทำให้หลวมที่สุด ค่อย ๆ ใช้น้ำเย็นประคบบริเวณใบหน้า ข้อพับ หรือขาหนีบ ใช้พัดลมเป่าเพื่อระบายความร้อนหรือจะใช้น้ำเย็นราดลงบนตัว เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้เร็วที่สุด แล้วจึงรีบนำส่งโรงพยาบาล
2.พ่นละอองน้ำ
เมื่ออุณหภูมิร่างกายค่อย ๆ ลดลงมาที่ 39 องศาเซลเซียส ให้ใช้วิธีพ่นละอองน้ำ ร่วมกับเปิดพัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อนได้ดีทีสุด ซึ่งจะปลอดภัยกว่าการจุ่มลงในน้ำที่ผสมน้ำแข็ง เพราะอาจทำให้เกิดการหนาวสั่น เส้นเลือดหดตัวและอาจทำให้ความร้อนยิ่งเพิ่มขึ้น
3.ให้สารน้ำทางหลอดเลือด
การให้สารน้ำอย่างพอดี ในกรณีพบว่ามีการสลายกล้ามเนื้อ และมีเลือดออกในปัสสาวะ ซึ่งอาจต้องให้สารน้ำมากขึ้น และต้องเฝ้าระวังการ จดบันทึกการในขับถ่ายปัสสาวะ
4.แก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือด
หากพบว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำให้รีบแก้ไขทันที และควรเฝ้าระวังการผิดปกติของระบบต่าง ๆ เพื่อป้องกันความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น
5.ป้องกันอย่างถูกวิธี
หากกลัวว่าจะเกิดโรคนี้ ควรหันมาดื่มน้ำให้ได้ 2 ลิตร ต่อวัน และหลีกเลี่ยงอากาศร้อน ถ่ายเท ไม่สะดวก หากร้อนมากควรพยายามลดความร้อน ด้วยการอาบน้ำ เปิดแอร์ เปิดพัดลม ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม หากรู้สึกเหนื่อยมากควรรีบพัก ทันที และควรมีการอบอุ่นร่างกายก่อนและหลังออกกำลังกาย
นอกจากนี้ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี และหากต้องทำงานกลางแจ้งควรสวมหมวกป้องกัน หรือเตรียมตัวออกกำลังกายกลางแจ้งล่วงหน้า เพื่อให้ร่างกายชินกับสภาพอากาศร้อน และลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ที่เพิ่มความร้อนให้ร่างกาย