ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f.& Thomson
ชื่อวงศ์ : Menispermaceae
ชื่อพ้อง : ตัวเจตมูลยาน ,เถาหัวด้วน (สระบุรี), หางหนู (สระบุรี,อุบลราชธานี) ,จุ่งจิง, เครือเขาฮอ (ภาคเหนือ) ,เจตมูลหนาม (หนองคาย),เจ็ดหมุนปลูก(ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เลื้อย เถากลม ผิวขรุขระกระจายอยู่ทั่วเถา เปลือกลอกออกได้ ใบเดี่ยวเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียว มีเส้นใบ 3-5 เส้น และมีเส้นแขนงใบอีก 1-3 คู่ ก้านใบยาว ดอกออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่ง แยกเพศอยู่คนละช่อมี ขนาดเล็กสีเขียวอมเหลือง ผลออกเป็นช่อขนาดเล็ก เมื่อสุกมีสีเหลืองหรือสีส้ม
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา :
1. ฤทธิ์ต้านการอักเสบและกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
จากการศึกษาพบว่าสารสกัดจากบอระเพ็ด มีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยไปมีผลแสดงออกที่ intracellular cytokine in LPS กระตุ้น murine macrophage cell ทำให้เกิด proliferation เพิ่มขึ้น มีผลทำให้เกิดการยับยั้งสัญญาณของ ICAM-1, VCAM-1, MCP-1, M-CSF ลดการอักเสบได้และมีการหลั่งของ NO เพิ่มขึ้น ซึ่งมีฤทธิ์สำคัญในการส่งเสริมการอักเสบ ได้แก่ ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และออกฤทธิ์เป็น cytotoxic free radical แต่ NO ก็มีฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วย ได้แก่ ระงับการจับกลุ่มของเกร็ดเลือด และยับยั้ง leukocyte adhesion NO จึงมีบทบาทเป็น mediator ที่คอยควบคุมปฏิกิริยาการอักเสบไม่ให้เกิดมากเกินไป และมีสาร cordioside, quercetin, paullinic acid, and boldine ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
2. ฤทธิ์ต้านปรสิต
สารสกัดบอระเพ็ดสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Plasmodium falciparum ที่ชอบอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคมาลาเรียได้ แต่ยังกลไกการออกฤทธิ์ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน
1.ใบ แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้จับสั่น ขับพยาธิ
2. เถา เป็นยาขมเจริญอาหาร ช่วยย่อย แก้ร้อนใน แก้อักเสบ
3. ดอก ขับพยาธิ
4.ผล ขับเสมหะ
นอกจากนี้บอระเพ็ดยังมีสาร cordioside, quercetin, paullinic acid, and boldine ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน อีกทั้งยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของ Plasmodium falciparum ได้อีกด้วย
การใช้สารสกัดบอระเพ็ดในขนาดต่ำ ในคนไม่ทำให้เกิดความผิดปกติใดๆ ถ้าหากมีการใช้สารสกัดบอระเพ็ดด้วย Ethanol นานมากกว่า 6 เดือน จะทำให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของตับและไต เมื่อนำเนื้อเยื่อตับมาตรวจพบว่าเกิด proliferation ที่ท่อน้ำดี และเกิด hyperplasia เซลล์ตับ ทำให้ค่า alkaline phosphatase (ALP), alanine aminotransferase (ALT) ,creatinine เพิ่มขึ้น และมีผลต่อน้ำหนักของตับอีกด้วย จึงควรปรึกษาแพทย์และระมัดระวังในการใช้
เอกสารอ้างอิง :