Follicular phase ( 14 วันแรกก่อนไข่ตก)
ระดับของเอสโตรเจน จะค่อยๆสูงขึ้น ทำให้เกิดการกระตุ้นสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาขึ้น และต่อมใต้สมอง pituitary สร้าง FSH (follicle-stimulating hormone) และ LH (luteinising hormone) เพื่อกระตุ้นให้ไข่สุก และ ตกลงมาในช่วงวันที่ 14 ของรอบเดือน
Luteal phase (14 วันหลังไข่ตก)
วันที่ 14 หรือช่วงกลางของรอบเดือน จะเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมน LH สูงที่สุด ( LH surge) ทำให้มีการตกไข่ และหลังจากนั้นคอร์ปัสลูเตียมจะทำหน้าที่สร้างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมที่จะรับการฝังตัวของตัวอ่อน
วันที่ 29 หรือ ช่วงท้ายๆ ของรอบเดือน จะเป็นช่วงที่มีประจำเดือน เพราะเมื่อไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิจะเกิดการเสื่อมสลายของคอร์ปัสลูเตียม ระดับของเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลง ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนในที่สุด
ภาพจาก https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/cd/MenstrualCycle2.png
ผลิตภัณฑ์ยาคุมฉุกเฉินที่จำหน่ายในประเทศไทย แต่ละเม็ดประกอบด้วยตัวยาที่เป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในขนาดสูง คือ ลีโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel) เม็ดละ 750 ไมโครกรัม ซึ่งเป็นยาในกลุ่มโพรเจสติน (progestins) จัดเป็นยาเม็ดคุมกำเนิดรุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์เลียนแบบโพรเจสเตอโรน
ภาพจาก https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/11/ส่วนประกอบใน_1_กล่อง_ของกล่องยาคุม.jpg
เพราะการที่ได้รับฮอร์โมน progesterone ที่สูงกว่าระดับปกติในช่วงของ luteal phase จากการรับประทานยาคุมฉุกเฉิน จึงทำให้ช่วงการสลายตัวของคอร์ปัสลูเตียมช้าลง ทำให้ยืดระยะเวลาไม่ให้ประจำเดือนหลุดลอกออกตามเวลาที่เคยเป็น
และจะมีประจำเดือนออกมา ก็ต่อเมื่อ จะมีระดับของ progesterone ลดลงมาใกล้เคียงกับ estrogen จีงทำให้มีประจำเดือนออกมาอีกครั้ง
ภาพจาก http://www.nutritionexpertise.com/wp-content/uploads/2016/07/ยาคุมฉุกเฉินกินอย่างไร-มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง.jpg
โปรเจสเตอโรนมีผลรบกวนกระบวนการตกไข่ รบกวนการเคลื่อนตัวและการทำหน้าที่ของอสุจิ รบกวนการทำหน้าที่ของคอร์พัสลูเทียม รวมทั้งส่งผลเปลี่ยนแปลงเยื่อบุโพรงมดลูกให้เหนียวข้นและผนังมดลูกบางลง เพื่อทำให้ไม่เหมาะแก่การฝังตัวของตัว
ป้องกันไม่ให้ไข่ที่ผสมกับอสุจิแล้วไปฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก ดังนั้นหากมีการฝังตัวของไข่ที่ผสมกับอสุจิที่ผนังมดลูกไปแล้วค่อยรับประทานยา ยาที่รับประทานเข้าไป ก็จะไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้
ระยะเวลาที่เริ่มรับประทานยาจึงส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาในการคุมกำเนิดด้วย โดยพบว่าระยะเวลาระหว่างการมีเพศสัมพันธ์กับการรับประทานยาเม็ดแรกที่นานขึ้น จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดลดลง
ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ในแต่ละครั้งของการมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น แต่ไม่มีประสิทธิภาพป้องกันการตั้งครรภ์ไปตลอดรอบเดือน ยาคุมฉุกเฉินจึงไม่ได้หมายความว่าจะไม่ตั้งครรภ์ เพียงแต่จะไปลดโอกาสในการตั้งครรภ์
1.ยาคุมฉุกเฉิน เรื่องจริงที่ผู้หญิงต้องรู้ (อินเตอร์เน็ต). (เข้าถึงเมื่อ 27 มิถุนายน 2560). เข้าถึงได้จาก http://www.pharmacy.mahidol.ac.th
2. Levonorgestrel ในยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน…ออกฤทธิ์อย่างไรกันแน่? (อินเตอร์เน็ต). (เข้าถึงเมื่อ 27 มิถุนายน 2560). เข้าถึงได้จาก http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.php?id=1371